Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Sunday, February 14, 2016

“Agrasen ki Baoli”



ในเรื่องของการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค มนุษย์ยุคใหม่อย่างพวกเรามีความสะดวกสบายกับระบบน้ำประปาที่อำนวยความสะดวกทั้งในเรื่องของการใช้ดื่มกิน อาบ ซักล้าง หรือประกอบอาหารในครัวเรือน จนพวกเราอาจจะเผลอมองข้ามหรือละเลยคุณค่าของน้ำไปบ้าง แต่ถ้าเราลองจินตนาการถึงผู้คนในสมัยโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนทางตอนเหนือของชมพูทวีปเมื่อพันปีที่แล้วที่ผืนดินบางแห่งมีปัญหาเรื่องการกักเก็บน้ำ ในช่วงฤดูร้อนก็มีอุณหภูมิสูงมาก เมื่อฝนเทกระหน่ำลงมาบนพื้นดินที่ไม่อุ้มน้ำ น้ำเหล่านั้นก็จะซึมผ่านพื้นดิน หรือไม่ก็ระเหยหายไปอย่างรวดเร็ว คนในยุคนั้นแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างไร




วิธีการสร้างบ่อน้ำสำหรับกักเก็บน้ำ คงจะผ่านการลองผิดลองถูกมาหลายรูปแบบ ผ่านกาลเวลามาหลายชั่วอายุคน จนในที่สุดได้ประยุกต์วิธีสร้างบ่อน้ำแบบใหม่นี้ขึ้นมา ลองสังเกตุดูนะครับว่าการทำบ่อน้ำเป็นขั้นบันไดแบบนี้ทำให้นำสามารถไหลลงจากด้านบนลงไปสู่เบื้องล่างลงไปยังบ่อน้ำทรงกลมได้ในฤดูแล้ง ขั้นบันไดจำนวนมากและซับซ้อนเหล่านี้จะช่วยรักษาปริมาณน้ำในบ่อเบื้องล่างไว้เป็นอย่างดี แต่ขณะเดียวกันเมื่อถึงฤดูฝน บันไดเหล่านี้ก็ถูกใช้เป็นพื้นที่ในการรองรับน้ำเป็นขั้นๆ ขึ้นมาจนถึงด้านบน ทำให้มีความสะดวกสบายในการนำน้ำไปใช้ในการอุปโภคบริโภค คนโบราณฉลาดนะครับ


บ่อน้ำขั้นบันได (step well) ของคนอินเดียโบราณในรัฐทางตอนเหนือของอินเดียจึงเป็นคำตอบในการเก็บกักรักษาน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคในยามขาดแคลน


ในภาษาฮินดี บ่อน้ำแบบขั้นบันไดมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น  Baoli bawdi baori bauri vapi  vapika ในรัฐราชาสถานและคุชราต เรียกบ่อน้ำประเภทนี้ว่า  baoli  bavadi  vav  vavdi และ vavadi (ข้อมูลจาก Wikipedia)


“Baoli” แห่งนี้ ตั้งอยู่ท่ามกลางตึกรามบ้านช่องสมัยใหม่ที่ถนน Hailey Road อยู่ใกล้ย่านช้อปปิ้ง “Connaught Place” และ “Jantar Mantar” ในกรุงนิวเดลีนี่เองครับ  ตัวอาคารมีความยาว 60 เมตร กว้าง 15 เมตร มีบันไดลงไปถึงพื้นเบื้องล่าง 103 ขั้น  ถึงแม้ว่าจะไม่มีประวัติบันทึกไว้ที่จะพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้สร้าง “Agrasen ki Baoli” แต่ก็เชื่อกันว่าตามตำนานถูกสร้างโดยกษัตริย์ Agrasen ในยุค “Mahabharat” และถูกสร้างขึ้นใหม่เมื่อคริสตศตวรรษที่ 14 


ด้วยความที่บ่อน้ำแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมานานแล้ว เป็นโบราณสถานที่มีห้องหับลึกลับดูวังเวงตั้งอยู่ท่ามกลางตึกรามบ้านช่องสมัยใหม่ ทำให้ที่นี่มีเรื่องราวน่าขนลุกสยองขวัญ  "Agrasen Ki Baoli" เป็นบ่อน้ำโบราณที่มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีเหมือนกัน ชาวบ้านที่นี่ต่างมีความเชื่อว่ามีวิญญาณ ที่ยังคงเฝ้าวนเวียน คอยล่อลวงให้ผู้คนตกลงไป แต่ตอนที่ผมมาเยือนที่นี่ก็ไม่ได้รู้สึกอะไร ไม่ได้รู้สึกอินไปกับเรื่องเล่า



สำหรับการเยี่ยมชมที่นี่ไม่เก็บค่าบริการครับ หลังจากเยี่ยมชมจนพอใจแล้วพวกเราก็เดินออกไปหาอะไรรองท้องมื้อเที่ยงกันที่บริเวณย่าน Connaugh Place ซึ่งอยู่ห่างจากที่นี่ไปอีกประมาณ 1.5 กม.แล้วพากันเดินไปเยี่ยมชม “Jantar Mantar” กันต่อ

No comments:

Post a Comment

RevolverMap