Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Sunday, May 9, 2010

การก่อการร้าย

images

การก่อการร้าย

ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Terrorism” ซึ่งเป็นคำที่มีรากฐานมาจากภาษาฝรั่งเศสที่กล่าวถึงเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศษในช่วงปี พ.ศ. 2336 – 2337 ที่มีกลุ่มก่อความไม่สงบใช้วิธีการที่รุนแรงทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก

เนื่องจากการก่อการร้ายเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง และผิดกฏหมาย ทำให้การก่อการร้ายมีความใกล้เคียงต่ออาชญากรรม แต่ประเด็นที่ทำให้การก่อการร้ายมีความแตกต่างจากอาชญากรรมก็คือ “วัตถุประสงค์”  ตรงที่การก่อการร้ายจะกระทำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมือง ศาสนา หรือความเชื่อในลัทธิอุดมการณ์  ส่วนอาชญากรรมจะกระทำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ผู้กระทำต้องการเช่น มุ่งประสงค์ต่อชีวิต หรือทรัพย์สินของผู้อื่น


สำหรับสาเหตุของการก่อการร้ายนั้นมีพื้นฐานมาจากเรื่องหลัก 2 ประการคือ

  1. การดำเนินการการทางการเมืองภายในรัฐชาติ หรือ รัฐต่อรัฐ เช่น การล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจทำให้เกิดกลุ่มต่อต้านเพื่อหาทางประกาศเอกราช หรือ ความขัดแย้งทางการเมืองที่นำไปสู่การกระทำที่รุนแรงมีผลต่อชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น
  2. การดำเนินทางเศรษฐกิจ และสังคม จิตวิทยา เช่น ความเหลือมล้ำทางชนชั้นทางสังคมหรือเชื้อชาติที่บานปลายไปสู่การดำเนินการต่อสู้ด้วยความรุนแรง หรือ การใช้มาตรการกีดกันทางเศรษฐกิจจากประเทศมหาอำนาจจนขยายผลสู่การเรียกต้องที่ใช้ความรุนแรง เป็นต้น เมื่อการก่อการร้ายที่กระทำโดยผู้ก่อการร้ายหรือที่เรียกว่า “Terrorist” นั้นเป็นการกระทำที่มุ่งหวังในเรื่องทางการเมือง ความเชื่อ ฯลฯ การก่อการร้ายจึงกระทำเพื่อให้เกิดการยอมรับจากการกระทำที่รุนแรงเพื่อให้เกิดอำนาจในการต่อรอง กดดัน หรือ ข่มขู่ต่อกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ก่อการร้ายต้องการ 

ความหมายของการก่อการร้ายที่ใช้ใน “ประเทศสหราชอาณาจักร” เมื่อ ปี 2000 ได้แก่ “การใช้กำลัง หรือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการใช้กำลัง ซึ่งมุ่งเน้นสร้างอิทธิพลกดดันต่อรัฐบาล หรือขู่เข็ญต่อสาธารณะ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสาธารณะ ซึ่งการใช้กำลังหรือภัยคุกคามดังกล่าวถูกดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ให้มีการแพร่หลาย หรือให้เป็นที่ยอมรับในเหตุปัจจัยทางการเมือง ศาสนา และลัทธิความคิด และการกระทำนั้นเกี่ยวข้องกับความรุนแรงอย่างยิ่งต่อบุคคล เกี่ยวข้องกับการทำลายล้างที่รุนแรงต่อทรัพย์สิน ทำให้ชีวิตของบุคคลตกอยู่ในอันตราย ยกเว้นชีวิตของบุคคลที่เป็นผู้ก่อการร้าย ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ชีวิต และความปลอดภัยของสาธารณะ แทรกแซงหรือขัดขวางระบบอิเล็คโทรนิคส์”

ความหมายของการก่อการร้ายใน “กลุ่มประเทศยุโรป (EU)” ซึ่งบังคับใช้เมื่อปี 2001 ระบุว่า “กิจกรรมการก่อการร้ายคือ การกระทำที่มีเจตนาที่จะทำลายและสร้างความไม่มั่นคงต่อโครงสร้างพื้นฐานทางการเมือง รัฐธรรมนูญ เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ”

สำหรับความหมายของการก่อการร้ายที่ “หน่วยสืบสวนสอบสวนกลาง FBI” ของสหรัฐอเมริกาใช้ได้แก่ “การใช้กำลังและความรุนแรงที่ผิดกฎหมายต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน เพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลหรือพลเมือง หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรัฐบาลและพลเมือง เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางการเมืองและทางสังคม”

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น คือ ความหมายของการก่อการร้ายของประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ส่วนความหมายของการก่อการร้ายในทางสากลนั้น ด้วยความที่การก่อการร้ายมีมิติทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเป็นการยากที่องค์การสหประชาชาติเองจะหาคำนิยามที่เหมาะสมสำหรับคำนี้ในทางสากลได้

ทั้งนี้เนื่องจาก “การก่อการร้าย” นั้น สามารถมองได้สองมิติ ผู้ก่อการร้ายในมุมมองของฝ่ายหนึ่งอาจเป็นวีรบุรุษของอีกฝ่ายหนึ่ง ตัวอย่างเช่น นายยัสเซอร์ อาราฟัต อาจเป็นผู้ก่อการร้ายในสายตาของชาวอิสราเอล แต่เป็นวีรบุรุษผู้กล้า หรือผู้ปลดปล่อยปาเลสไตน์ในสายตาของชาวปาเลสไตน์  หรือแม้กระทั่งนายโอซามะ บินลาเดนก็ตาม ที่พยายามต่อสู้ทุกวิถีทางต่อชาติมหาอำนาจที่จะคิดทำลายล้างศาสนาอิสลาม ก็อาจจะเป็นวีรบุรุษในสายตาของชาวมุสลิมบางกลุ่ม  ในขณะที่อดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช แห่งสหรัฐอเมริกา อาจเป็นผู้ก่อการรร้ายในสายตาของชาวมุสลิมทั่วโลกก็เป็นได้   นอกจากนี้การยึดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อปลายปี 2552  กลับกลายเป็น “การก่อการดี” ไปเสี่ยนี่….

No comments:

Post a Comment

RevolverMap