Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Sunday, June 30, 2019

ฮัจยีหวังอาหมัด “โต๊ะชายนาย, โต๊ะหยังนาย”



สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 (อังกฤษ: Anglo-Siamese Treaty of 1909) หรือ สนธิสัญญาบางกอก (อังกฤษ: Bangkok Treaty of 1909) เป็นสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษและสยาม ซึ่งได้มีการลงนามสนธิสัญญาฉบับนี้ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2452 และรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 สนธิสัญญาฉบับนี้มีมีสาระสำคัญข้อหนึ่ง คือ

สยามยกสิทธิการปกครองและบังคับบัญชาเหนือไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และเปอลิสรวมทั้งเกาะใกล้เคียงให้แก่อังกฤษ

วันนี้ (10 มีนาคม 2562) เป็นวันครบรอบ 110 ปีของสนธิสัญญาฉบับนี้

ย้อนหลังกลับไปก่อนหน้าสนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452  ประมาณ 100 ปี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ 2 "ฮัจญีหวังอาหมัด" ชาวมลายูมุสลิมรัฐตรังกานู เมื่อครั้งที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม (ปัจจุบันเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย) ได้อพยพโยกย้ายพลัดถิ่นจากบ้านเกิดเมืองนอน

"ฮัจญีหวังอาหมัด" มีชื่อฉายาว่า “โต๊ะหยังนาย” หรือ “โต๊ะชายนาย" อันเนื่องมาจากการที่ท่านเป็นนายกองทหารหัวเมืองมลายู รัฐตรังกานู ท่านนำกำลังทหารในปกครองมาสมทบช่วยเมืองสงขลาทำสงครามต่อสู้กับหัวเมืองประเทศราชที่แข็งข้อ หลังเสร็จศึกสงครามไม่กลับภูมิลำเนา ท่านตัดสินใจไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ที่บ้านดอนทิง ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณที่ราบลุ่มทะเลสาบสงขลา ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ ต.ปากรอ อ.สิงหนคร จ.สงขลา  ท่านมีภรรยา 4 คน มีลูกหลานสืบทอดต่อเนื่องกันมาหลายสายตระกูล

ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์ในบทเรียนพยายามสอนและปลูกฝังให้เราเป็นคนไทย แต่เราก็ไม่ควรลืมรากเหง้าของตัวเอง ผมภูมิใจที่มีสายเลือดมลายูและเป็นคนไทยมีสัญชาติไทยอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินนี้...

บรรพบุรุษของผมศพถูกฝังอยู่ที่นี่เกือบสองร้อยปีแล้วครับ

The British-Siam Treaty of 1909 (Anglo-Siamese Treaty of 1909) or the Bangkok Treaty of 1909 is a treaty between The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland and The Kingdom of Siam which has signed in Bangkok on March 10, 1909 and the Parliament of The United Kingdom ratified on  July 9, 1909. This treaty has some important issue:

Siam conferd the administrative rights and sovereignty over the Kedah, Kelantan, Terengganu and Perlis as well as neighboring islands to The United Kingdom.

Today is the 110th anniversary of the treaty.

Go backwards before the British-Siam Treaty, 1909, about 100 years earlier, in the reign of King Rama II, "Haji Wang Ahmad", a Malay Muslim from Terengganu State while it was still being part of the Kingdom of Siam (Currently a state of Malaysia) has migrated to exile from his homeland.

"Haji Wang Ahmad" has the nickname " "Datuk Chai Nai" or "Datuk Yang Nai" due to the fact that he was a military officer in Terengganu State. He led a military force to join Songkhla to make war against the militants cities. After the war ended, he didn't return to his homeland. He decided to settle down at a small village in the area of ​​Songkhla lake basin. At present this village is in the area of ​​Pak Ro Subdistrict, Singha Nakhon District, Songkhla Province, he has 4 wives which were the ancestors of many descendants.

Although the history of the lesson tries to teach and cultivate us to be Thai. But we should not forget the roots of ourselves I am proud of to have a Malay lineage and a Thai nationality under the Chakri dynasty on this land...

My ancestors have been buried here for almost 200 years...

Sunday, June 16, 2019

ต้นตระกูล “บุตรรักษ์ ไกรรักษ์ ขุนนุรักษ์ ขำนุรักษ์ จุลภักดิ์ ดำรักษ์” ที่มา...


ภาพถ่ายนี้มีอายุประมาณ 50-60 ปีมาแล้ว สุภาพสตรีคลุมฮิญาบแบบมุสลิมในภาพ ชื่อ “นางไหมมูหน๊ะ ดลระหมาน” หรือ “มุหน๊ะ” หากมีชีวิตยืนยาวมาจนถึงปัจจุบันก็น่าจะมีอายุสักประมาณ 125 ปีเศษ ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วงรัชสมัย ร.5-ร.6 นามสกุล “ดลระหมาน” เป็นนามสกุลสามี “นายแอ ดลระหมาน”  ซึ่งนั่งเคียงคู่กันอยู่ในภาพ ผู้ซึ่งบรรพบุรุษของท่านโยกย้ายมาจากรัฐกลันตัน (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย) ส่วนเด็กหนุ่มที่ยืนอยู่ตรงกลางคือ “นายเรน ดลระหมาน” เป็นบุตรคนสุดท้องของทั้งสองท่าน

“นางไหมมูหน๊ะ ดลระหมาน” หรือ “มุหน๊ะ” มีนามสกุลเดิม “บุตรรักษ์” บิดาชื่อ “นายบุตร หรือขุนบุตร หรือกำนันบุตร บุตรรักษ์” นามสกุลเดิม “ณ พัทลุง” ส่วนบิดาของนายบุตร หรือขุนบุตร หรือกำนันบุตร ชื่อ “ขุนรักษ์ หรือขุนนุรักษ์ ณ พัทลุง” ลูกหลานสุลต่านสุไลมาน ชาห์

นางสะหน๊ะ บุตรรักษ์ แต่งงานกับนายแอ ดลระหมาน มีบุตรด้วยกัน ดังนี้
  1 นายหมาน ดลระหมาน
  2 นายหีม ดลระหมาน
  3 นางโฉม ดลระหมาน  แต่งงานกับนายวะหาบ หรือถาบ ยีหวังกอง  ซึ่งต่อมาคือ “ย่าทวด” และ “ปู่ทวด” ของน้องนวี
  4 นางแหมะ ดลระหมาน 
  5 นายเรน ดลระหมาน 
                                          ***************
ขุนรักษ์  หรือขุนนุรักษ์ ณ พัทลุง เป็นชาว ต.ตะโหมด จ.พัทลุง นับถือศาสนาพุทธตามบรรพบุรุษของท่านซึ่งเดิมนับถือศาสนาอิสลามแล้วเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ ท่านแต่งงานกับนางเหรียม คงหนู เป็นมุสลิมบ้านอยู่ที่โคกแต้ว (บางแก้ว) ต.ท่ามะเดื่อ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง (ในขณะนั้น ต่อมาได้แยกการปกครองออกมาเป็น อ.เขาชัยสน ต่อมาเป็น อ.บางแก้ว จ.พัทลุง) 

ท่านกับนางเหรียมฯ มีบุตรด้วยกัน 8 คน ดังนี้     
1 นายบุตร หรือขุนบุตร  ณ พัทลุง
2 นายไกร หรือขุนไกร ณ พัทลุง
3 นายสงค์ ณ พัทลุง  
4 นายขำ ณ พัทลุง  
5 นายเมียด ณ พัทลุง
6 นางสาวหย่อง ณ พัทลุง
7 นายเอียด (ฉายาน้าตัวเอียด) ณ พัทลุง
8 นายดำ หรือขุนดำ ณ พัทลุง
                                          ***************
ในจำนวนพี่น้อง 8 คน ดังกล่าว มี 6 ท่านได้ตั้งนามสกุลใหม่ โดยบางท่านนำชื่อของตนตั้งเป็นพยางค์แรก สนธิกับชื่อบิดา คือ “รักษ์” ตั้งเป็นพยางค์ท้าย และมีบางท่านตั้งนามสกุลใหม่ ตามลำดับสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

1 ขุนบุตร ณ พัทลุง ~~> บุตรรักษ์
2 ขุนไกร ณ พัทลุง ~~> ไกรรักษ์
3 นายสงค์  ณ พัทลุง ~~> ขุนนุรักษ์
4 นายขำ  ณ พัทลุง ~~> ขำนุรักษ์ 
5 นายเอียด (ฉายาน้าตัวเอียด)  ณ พัทลุง ~~> จุลภักดิ์
6 ขุนดำ  ณ พัทลุง ~~> ดำรักษ์

เลือดเนื้อเชื้อไข “ณ พัทลุง”
Credit ประวัติสายตระกูล: กฤต วงศ์ษาวิจิตรภักดี รัตนบุรี

RevolverMap