"ประวัติศาสตร์มักเขียนโดยผู้ชนะเสมอ.."
"ผู้ใดชนะสงคราม ผู้นั้นเขียนประวัติศาสตร์"
"ผู้ใดชนะสงคราม ผู้นั้นเขียนประวัติศาสตร์"
ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชรัฐปัตตานี ที่คนไทยได้มีโอกาสศึกษาและสัมผัสในปัจจุบัน เนื้อหา รายละเอียดเป็นมุมมองของ "สยาม" ผู้ชนะสงครามในอดีต ผู้เขียนย่อมต้องเขียนในมุมมองที่เข้าข้างตัวเอง.... "ปัตตานี" คือผู้ที่แพ้สงคราม จึงจำต้องก้มหน้าก้มตา "สู้" เพื่อชะตากรรมของตัวเอง...
เปรียบเทียบกับ "ตัวเรา" บ้าง หากไม่มี "สมเด็จพระนเรศวร มหาราช" หรือ "สมเด็จพระเจ้าตากสิน" กู้ชาติ กู้แผ่นดินกลับคืนให้คนไทยแล้ว ปัจจุบัน จะมีสภาพอย่างไร... เชื่อแน่ว่า จะมีคนไทยกลุ่มหนึ่ง ร่วมมือกันซ่องสุมกำลังเพื่อต่อสู้ ปลดแอกคนไทย ให้พ้นจากการยึดครองของศัตรู...
ย้อนกลับมาดูความเคลือนไหวของ องค์กรกู้ชาติรัฐปัตตานี กัน...
ปัจจุบัน องค์กรกู้ชาติรัฐปัตตานี ได้ขับเคลื่อนการต่อสู้ตามแผนการปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น) เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เตรียมคน จัดตั้งองค์กรควบคุมคน ขยายเครือข่ายและสมาชิก กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติอย่างแอบแฝง อำพราง ปกปิด เร้นลับ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของการสถาปนารัฐปัตตานี
ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (บันได 7 ขั้น)
แผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน หรือแผนบันได 7 ขั้น ได้มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์มาตั้งแต่ พ.ศ.2535 โดยมุ่งหวังที่จะยึดกุมเยาวชนเป็นกลุ่มปฏิบัติการ ทั้งทางการทหาร ประชาสัมพันธ์ และการโฆษณาชวนเชื่อ อันเป็นจุดเด่นที่สำคัญของแผนงานนี้
แผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน หรือแผนบันได 7 ขั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ขั้นที่ 1 – ขั้นที่ 5 เป็นห้วงของการจัดตั้งและดำเนินงาน สร้างความพร้อมของคน องค์กร และอุดมการณ์ ส่วนที่ 2 ขั้นที่ 6 – ขั้นที่ 7 เป็นขั้นการปฏิวัติเพื่อความสำเร็จของการกู้ชาติรัฐปัตตานี
ตามความหมายของแต่ละขั้นตอน
ขั้นที่ 1 “สร้างจิตสำนึกมวลชน” หรือจิตสำนึกร่วมโดยการปลุกระดมมวลชนตามยุทธศาสตร์ “ชาติ ศาสนา มาตุภูมิ” ให้ผู้ที่ถูกเก็งตัวเพื่อเข้าเป็นสมาชิกมีจิตสำนึกในความเป็นชาวมลายู ที่นับถือศาสนาอิสลาม และความเป็นชาติ “รัฐปัตตานี” ในอดีตที่ถูกรัฐบาลสยาม (ไทย) มายึดครอง ทุกคนจะต้องสำนึกและต้องลุกขึ้นต่อสู้ปลดปล่อยดินแดนคืนจากการยึดครอง
ขั้นที่ 2 “จัดตั้งมวลชน” เป็นการจัดตั้งแนวร่วม ทั้งเยาวชนภายในและภายนอกสถานศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไป บางมัสยิดมีการอ่าน “คุตบะห์” (เทศนา/สั่งสอน) ขณะละหมาดในวันศุกร์ สอดแทรกอุดมการณ์ในโอกาสต่างๆ ใช้เงื่อนไข ชาติ ศาสนา มาตุภูมิ ความไม่เป็นธรรม มีผลให้ผู้ฟังคล้อยตามให้ความร่วมมือสนับสนุน หากไม่สนับสนุนก็วางเฉยไม่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ หากขัดขวางก็กำจัดทิ้ง
ขั้นที่ 3 “จัดตั้งองค์กร”
โดยจัดตั้งองค์กรอำพรางในการปฏิบัติ ทั้งเพื่อการควบคุมมวลชน และแหล่งเงินทุนต่าง ๆ
ขั้นที่ 4 “การจัดตั้งกองกำลัง”
ในการต่อสู้กับกลไกรัฐ มี 3 ระดับ คือ
เยาวชน ทหาร เป็นทหารบ้านที่ผ่านการฝึกพื้นฐาน/ขั้นต้น หรือ เป็นกองกำลังที่อยู่ประจำหมู่บ้าน ตามภูมิลำเนาโดยเฉพาะในหมู่บ้านสีแดง ทั้งนี้ เป้าหมายที่จะจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวให้ได้ 30,000 คน
เยาวชน คอมมานโด คัดเลือกสมาชิกจากกลุ่มเยาวชนทหาร นำไปฝึกในขั้นที่สูงขึ้น สมาชิกระดับคอมมานโดเป็นกองกำลังที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการก่อเหตุร้าย หลายลักษณะ ทั้งการลอบยิง ลอบวางระเบิด รวมทั้งการซุ่มโจมตี เพราะได้รับการฝึกตามยุทธวิธีหน่วยทหารขนาดเล็ก RKK (Runda Kumpulan Kecil) และยุทธวิธีด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม
เยาวชนคอมมานโดดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้ได้ 3,000 คน แบ่งความรับผิดชอบ เขตงานละ 1,000 คน
และ กองกำลังระดับผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ควบคุมกองกำลังคอมมานโดหรือทำหน้าที่ครูฝึก บางคนผ่านการฝึกมาจากต่างประเทศ มีขีดความสามารถสูง เคยผ่านการปฏิบัติจริงมาแล้ว มีจิตใจต่อสู้เพื่อองค์กรอย่างแน่วแน่ เป้าหมายกำหนดไว้ 300คน มีทั้งคัดเลือกจากเยาวชนคอมมานโด และผ่านการฝึกจากต่างประเทศ
ขั้นที่ 5 “อุดมการณ์ชาตินิยม”
ใน การปฏิบัติของขั้นนี้ มุ่งเน้นการสร้างอุดมการณ์ความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน (มลายู) ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยมุสลิม ที่ดำรงสถานะ/อาชีพใด
ขั้นที่ 6 “เตรียมพร้อมปฏิวัติ”
เป็นการก่อเหตุร้ายทุกรูปแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เหมือนกับการแตก/กระจายของดอกไม้ไฟ “จุดดอกไม้ไฟแห่งการปฏิวัติ” โดยกำหนดให้ปฏิบัติในปี 2547 คล้ายกับเป็น “วันเสียงปืนแตก” ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในอดีต ทั้งนี้ยังมีคำกล่าวที่คล้ายคลึงอีกว่า “ในปี 47 จะเป็นปีที่ดอกลองกองผลิดอกออกพร้อมกัน”
ขั้นที่ 7 “จัดตั้งการปฏิวัติ” หรือ “ก่อการปฏิวัติ”
เป็นแผนงานที่เดิมกำหนดจะกระทำในปี 2548 แต่ด้วยความไม่พร้อมของจำนวนกองกำลัง และจำนวนแนวร่วม ซึ่งอาจจะหมายรวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ จึงไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน และมีความเป็นไปได้ว่าขยายไปอีก 2 ปี ข้างหน้า ภาพก่อการปฏิวัติที่จะเกิดขึ้นนั้น จะเป็นภาพการต่อสู้ของนักต่อสู้เพื่อรัฐปัตตานี ที่ทำการโจมตีด้วยกองกำลังต่อกลไกรัฐเต็มพื้นที่ จชต. ซึ่งขณะโจมตีจะติดตั้งธงรัฐปัตตานีควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สื่อมวลชนแพร่กระจายข่าวไปทั่วโลก และหวังผลต่อการเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวโดย UN เช่น ติมอร์ตะวันออก หรือประเทศอื่น ๆ จนท้ายสุดเป็นการลงประชามติของประชาชนว่า จะเป็นประชาชนของฝ่ายใด ซึ่งประเด็นสำคัญสุดท้ายนี่เองที่กลุ่มก่อความไม่สงบประเมินแล้ว ความไม่พร้อมของมวลชนที่ซึ่งเป็นปัจจัยชี้ขาด จึงต้องขยายเวลาการก่อการปฏิวัติออกไป
แผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน นับเป็นแผนแม่บทที่ระดับนำขององค์กรกู้ชาติรัฐปัตตานี นำไปเผยแพร่ ชี้นำ ให้กับสมาชิกระดับสำคัญขององค์กรทราบ เป็นระยะ ๆ ตลอดมา จึงนับได้ว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่ทุกหน่วยงาน ต้องศึกษาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวคิด/แนวทางปฏิบัติสำหรับตอบโตทำลายแผนดังกล่าว มิให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างเป็นรูปธรรม
สวัสดี ผมก็เป็นอีกคนที่สนใจในเรื่อง แผนบันได 7 ขั้น เป็นอุดมการณ์ที่เขาวางแผนเอาไว้ถ้าปฏิบัติการได้สำเร็จเมื่อไหร่ ประเทศไทยมีหวังต้องเสียดินแดนให้กับพวกนี้เป็นแน่แท้ ปัจจุบันยิ้่ง แกนนำพรรคเพื่อไทยออกประกาศว่าจะแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเสนอเป็นการปกครองท้องถิ่นพิเศษ เดิมที 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นเมืองที่สงบ ไม่ค่อยมีปัญหาขัดแย้งใดๆ จนกระทั่งมีอดีตนายกทักษิณ ชิณวัตร เข้ามาบริหารประเทศ ไปแทรกแซงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน ศอ.บต.แถมยังไปดูถูกโจรใต้ว่าเป็นโจรกระจอก สุดท้ายไม่ยอมเข้าแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องและยั่งยืน จนทำให้เกิดเหตุการณ์บานปลาย จนปัจจุบันยากที่จะแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น
ReplyDeleteกล้องวงจรปิดก็ติดตั้งทั้งจังหวัดแล้ว คงไม่สามารถทำได้ดีกว่านี้ ในตอนนี้
ReplyDelete