(28 Sep - 1 Oct 2009)
เมื่อ 28 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางไปฝึก “หลักสูตรเทคนิคและยุทธวิธีการปฏิบัติการตอบโต้แบบฉับพลัน (จู่โจม)" (หรือ "CQB" Close Quarter Battle: การรบในระยะประชิด) พร้อมกับเพื่อนข้าราชการตำรวจสังกัดศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) รวม 65 นาย หลักสูตรการฝึกฯ เป็นหลักสูตรระยะสั้น ๆ ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง
“Transnational Crime Affairs Embassy of The United States" กับ “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” สถานที่ฝึก “ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8” อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ระยะการเวลาฝึก 3 วัน ตั้งแต่ 29 ก.ย. – 1 ต.ค. 2552 การฝึกเป็นไปอย่างเข้มข้น มีวิทยากรเป็น จนท.จาก “Los Angeles County Sheriff's Department” ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 6 นาย มาเป็นครูฝึก
ความเป็นมาของการฝึก
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะงบประมาณด้านป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแก่รัฐบาลไทยเป็นจำนวนมาก (ทั้งเงิน คน อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเศษ การฝึกอบรมบุคลากร) เนื่องจากในระยะนั้น “เฮโรอีน” จาก “สามเหลี่ยมทองคำ” แพร่ระบาดมากในสหรัฐฯ คนอเมริกันติดเฮโรอีนงอมแงม รัฐบาลสหรัฐอเมริกาถึงกับต้องส่งหน่วย DEA (Drug Enforcement Administration) หรือ “หน่วยปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ” เข้ามาฝังตัวสืบสวนหาข่าวในประเทศไทย ทำงานร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ส. และ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) อย่างใกล้ชิด
หัวข้อการฝึกตลอด 3 วัน มีดังนี้
วันแรก (29 Sep 2009)
- Covert Team Movement
- Tactical Breaching
- Warrant Service Movement
- Officer Rescue Techniques
- Tactical Medicine
- Covert Team Movement
- Tactical Breaching
- Warrant Service Movement
- Officer Rescue Techniques
- Tactical Medicine
วันที่สอง (30 Sep 2009)
- Crisis Entry Principles
- Hostage Rescue Operations
- Hostage Rescue Movement
- Hostage Rescue/Evacuations
- Crisis Entry Principles
- Hostage Rescue Operations
- Hostage Rescue Movement
- Hostage Rescue/Evacuations
วันที่สาม (1 Oct 2009)
- Active Shooter Response – Contact Teams and Rescue Teams
- Active Shooter Movement
- Office Down/Citizen Down Response
- Casuality Evacation
นับตั้งแต่เหตุการณ์ 911 เป็นต้นมา ปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดดูเหมือนจะลดบทบาทความสำคัญลงไป รัฐบาลสหรัฐอเมริกาหันมาให้ความสนใจและช่วยเหลือกิจการด้านการต่อต้านการก่อการร้ายแก่นานาประเทศมากขึ้น รวมทั้งสนใจกับปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย จึงเป็นที่มาของการฝึกในครั้งนี้
ความจริง ผู้รับการฝึกทั้งหมดปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีศูนย์ฝึกอบรมเป็นของตัวเอง (อยู่ที่ อ.เมือง จ.ยะลา) สถานที่กว้างขวาง แต่ผู้จัดการฝึกกลับเลือกจัดที่ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี มองในแง่ดี ถือเสียว่าให้โอกาสกำลังพลใน 3 จชต.ได้ออกไปผ่อนคลาย ยืดเส้นยืดสายนอกพื้นที่เสี่ยงภัยบ้าง แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน ก็บ่งบอกถึงการขาดความเชื่อมันของครูฝึกจากสหรัฐฯ 6 นาย ที่มีต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั่นเอง
การฝึกมีประโยชน์มากสำหรับพวกเรา เพราะครูฝึกสอนเทคนิคการเข้าจู่โจมตรวจค้นภายในอาคาร รวมทั้งการต่อสู้ในระยะประชิด ซึ่งเป็นมาตรการที่พวกเราต้องใช้อยู่บ่อยครั้งในการทำงาน แต่ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ บ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นเรือไม้ยกพื้น หลังคามุงสังกะสี ไม่สามารถใช้กำบังกระสุนได้ ในขณะที่ครูฝึกมีประสบการณ์ทำงานในเมืองเสียมากกว่า อย่างไรก็ตามพวกเราสามารถนำหลักการไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่ยากเย็น
ในโอกาสต่อไป ผมจะมาเล่าถึงรายละเอียด ความเป็นมาของหน่วย “Los Angeles County Sheriff's Department” หรือ “LASD” ที่มาเป็นครูฝึกให้แก่พวกเราฟังครับ
ได้สัมผัสหลักสูตรลักษณะนี้มาหลายหลักสูตร แต่ชอบของ LASD มากที่สุด เพราะมัน Logical รวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติมากกว่าวิธีอื่นๆ ที่เคยเห็นมา
ReplyDeleteอยากไปฝึกอีกครับ โดยมีพี่ปองเป็นล่ามเหมือนเดิม... ^^
ReplyDelete