ในอเมริกา หากมีคดีสำคัญหรือคดีคาบเกี่ยวเกิดขึ้นหลายพื้นที่ มีหน่วย FBI (Federal Bureau of Investigation) ทำหน้าที่เป็น "ตำรวจ" ของรัฐบาลกลาง มีอำนาจสืบสวนสอบสวนครอบคลุมทั้งประเทศ ส่วนบ้านเรา มี “บช.ก.” หรือ “กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง” มีอำนาจสืบสวนสอบสวนครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมี “กรมสอบสวนคดีพิเศษ” หรือ “DSI” เพิ่มขึ้นมาอีก 1 หน่วย ตั้งขึ้นมาเพื่อถ่วงดุลย์และคานอำนาจของตำรวจ
คำว่า “Sheriff” หากแปลตามตัวก็คงจะหมายถึง “นายอำเภอ” แต่นายอำเภอในอเมริกาคงไม่ใช่นายอำเภอรูปแบบเหมือนบ้านเราเป็นแน่ “Sheriff” ดูแลเมืองเล็ก ๆ (County) อาชญากรรมไม่ซับซ้อนมาก มีอำนาจสืบสวนสอบสวน มีการจัดสายตรวจ ตัวหัวหน้าหน่วยมาจากการเลือกตั้ง อาจจะใหญ่กว่า มีอำนาจครอบคลุมมากกว่านายอำเภอบ้านเรา และอาจทำหน้าที่อื่น ๆ ด้วย เช่น หน้าที่ในการเก็บภาษีอากร เป็นต้น เมื่อพิจารณาจากเนื้องานแล้ว อาจอนุมานได้ว่า “Sheriff” ก็คือ "เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ" ตาม ป.วิ อาญา ของไทย ซึ่งเป็น “ผู้บังคับใช้กฎหมาย” ในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง
“LASD” เป็นกรม "Sheriff" ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา (ผมใช้คำว่า “กรม” ในความหมายของ “หน่วย” หรือ “องค์กร” นะครับ...) มีกำลังพลรวมทั้งสิ้นประมาณ 16,000 นาย รับผิดชอบพื้นที่ประมาณ 34,500 ตารางไมล์ ซึ่งมีประชากรราว 9 ล้านคน หัวหน้ากรม "Sheriff" ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในมณฑลลอสแอนเจลิสอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี เพราะฉะนั้นในการทำงาน ผบ.กรม “LASD” จึงต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ไม่ได้รับผิดชอบต่อนักการเมือง(น้ำเน่า) เหมือนตำรวจของบางประเทศ
As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม
โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา
ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...
Thursday, March 4, 2010
“Los Angeles County Sheriff's Department” หรือ “LASD”
คราวที่แล้วผมได้เล่าถึงการฝึก CQB ที่มีเจ้าหน้าที่จาก “LASD” หรือ “Los Angelis County Sheriff’s Department” มาเป็นครูฝึกให้ที่ จ.สุราษฎร์ธานี วันนี้ผมจะเล่าถึงความเป็นมาและหน้าที่ของ “LASD” ให้ฟังนะครับ
ในอเมริกา มีการกระจายอำนาจการปกครองลดหลั่นลงไปเป็นหลายระดับ ตั้งแต่ระดับรัฐ (State) ลงไปเคาน์ตี้ (County) แต่ละระดับมีหน่วยงาน “บังคับใช้กฎหมาย” เป็นของตัวเองกระจายตามพื้นที่ “หน่วยบังคับใช้กฎหมาย” หรือ “ตำรวจ” ของแต่ละรัฐ หรือแต่ละเคาน์ตี้ มีลักษณะเป็นตำรวจท้องถิ่น มีอำนาจบริหารจัดการเองไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลาง แม้แต่ในมหาวิทยาลัยหรือในสวนสาธารณะก็มี “ตำรวจ” เป็นของตัวเอง ตำรวจท้องถิ่นอเมริกา หัวหน้าหน่วยมีอำนาจโยกย้ายได้เฉพาะแต่ในเขตหรือหน่วยของตัวเอง ในขณะที่ตำรวจไทย มีลักษณะรวมศูนย์เป็น “ตำรวจแห่งชาติ (National Police)” ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจได้ทุกหน่วยทุกนายทั่วประเทศ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Labels/หมวดหมู่
7 days in Australia
(7)
Australia Trip
(7)
India Trip
(28)
Information Operation
(2)
Introduction to Islam
(3)
Lifestyle
(1)
การก่อการร้าย
(9)
การโดดร่มดิ่งพสุธา
(1)
การบริหารงานตำรวจ
(5)
การฝึก/ยุทธวิธีตำรวจ
(2)
การฝึกอบรม
(8)
ข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบ
(8)
งานชุมชนมวลชนสัมพันธ์
(15)
ท่วงทำนองแห่งชีวิต
(4)
นิติวิทยาศาสตร์
(2)
ปัจจัยแวดล้อมในประเทศ
(29)
ปัจจัยแวดล้อมระหว่างประเทศ
(28)
ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
(31)
ปัญหายาเสพติด
(8)
ภารกิจถวายความปลอดภัย
(1)
ภาษาอังกฤษกับเพลง
(1)
วิสามัญฆาตกรรม
(1)
สถานการณ์การเมืองไทย
(3)
สิทธิมนุษยชน
(2)
องค์กรก่อการร้าย
(2)
องค์กรตำรวจต่างประเทศ
(3)
อาชญากรรมข้ามชาติ
(6)
No comments:
Post a Comment