Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Wednesday, August 17, 2016

สภ.บูเก๊ะตา จว.นราธิวาส ชนะเลิศประกวดการฝึก ศชต.ประจำปี 2559: We are the champion of the police training performance contest police regional level 2016


Actions speak louder than words.

It was almost inconceivable that today we could perform our important duty excellently. Even though my work place, Buketa Police Station is a small police station which is located in southern Thailand and far from the center of the province of Narathiwat, but in the police training performance contest provincial police level last 2 weeks, Buketa Police Station scored the number 1, we have won over another 16  police stations of Narathiwat Provincial Police.

Today (August 17, 2016) the final contest, we were the representative of Narathiwat Provincial Police to compete with the other police station team which was a representative of each Provincial Police in Southern Border Province Police Bureau. Unofficial result after the contest, we could perform and get the maximum scores for this annual competition.

It was great success of the unity of all the troops.

with Kongwun Teerapong, Titi Prompalad

                                 ~~~~~~~~~~~~~~~~~~

การกระทำสำคัญกว่าคำพูด

นึกไม่ถึงว่าเราจะมาไกลได้ขนาดนี้ ถึงแม้จะเป็นสถานีตำรวจภูธรเล็กๆ ต่างจังหวัด แต่ในการประกวดการฝึกระดับตำรวจภูธรจังหวัด สถานีตำรวจภูธรบูเก๊ะตาทำคะแนนเป็นลำดับที่ 1 สามารถเอาชนะสถานีตำรวจอื่น ๆ ของตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาสอีก 16 สถานีตำรวจ เป็นตัวแทนของตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาสเข้ามาประกวดการฝึกกับทีมตัวแทนตำรวจภูธรจังหวัดอื่นของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันนี้ (17 ส.ค.2559)

ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ทีมสถานีตำรวจภูธรบูเก๊ะตา สามารถทำคะแนนเป็นลำดับที่ 1 ในการประกวดการฝึกระดับภาคของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปี 2559

ความสำเร็จทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะความสามัคคีความร่วมแรงและร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของน้องๆ ข้าราชการตำรวจ สภ.บูเก๊ะตา ทุกนาย

Thursday, February 25, 2016

“Rishikesh” เมืองฤาษีเกศ


ผมไม่เคยได้ยินชื่อเมือง ““Rishikesh”” นี้มาก่อน ความคิดทริป “Rishikesh” เกิดขึ้นเพียง 2 วันก่อนเดินทางในวันศุกร์เท่านั้น เมื่อบังเอิญเหลือบไปเห็น Kate เพื่อนสาวชาวรัสเซีย นังดูภาพถ่ายทริป Rishikesh ของตัวเองในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพที่เห็นเป็นภาพแม่น้ำสายหนึ่งที่ใสสะอาดมากเสียจนมองเห็นเป็นสีฟ้าใสกระจ่างตา ผมไม่เคยเห็นแม่น้ำใหญ่ที่ใสสะอาดแบบนี้มาก่อนในเมืองไทย จึงถาม Kate ว่าเป็นแม่น้ำอะไรอยู่ที่ไหน ได้คำตอบว่า “แม่น้ำคงคา” ที่เมือง “Rishikesh”



เท่านั้นแหละ  ผมรีบค้นหาข้อมูลเมือง Rishikesh ทันที จนได้ข้อมูลว่าเมือง Rishikesh อยู่ในรัฐ Uttarakhand เกือบเหนือสุดของอินเดีย เมื่อดูจากแผนที่ Google Map พบว่าพื้นที่ของรัฐนี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัยสลับซับซ้อนเป็นพื้นที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคงคาติดพรมแดนอินเดีย-จีน น้ำในแม่น้ำคงคาที่ไหลผ่านเมืองฤษีเกศนี้เป็นสีเขียวมรกตแปลกตาเนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะและธารน้ำแข็งที่ละลายไหลจากเทือกเขาลงมารวมกันที่นี่ก่อนที่จะขยายเป็นแม่น้ำใหญ่ไหลลงไปหล่อเลี้ยงแผ่นดินชมพูทวีป “Rishikesh” เป็นเมืองแห่งโยคีและโยคะ  ชื่อของเมืองมีความหมายตรงตัวว่า “ศีรษะฤาษี” ดังนั้นจึงอาจเขียนชื่อเมืองนี้ในภาษาไทยว่า “ฤาษีเกศ” 



เมืองฤาษีเกศเป็นเมืองศักดิสิทธิ์สำหรับชาวฮินดู ตั้งอยู่ในหุบเขาศักดิ์สิทธิ์บริเวณเชิงเขาหิมาลัย มีวัดฮินดูและอาศรมมากมายเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำคงคา ในอดีตเป็นเมืองที่มีฤาษีมากมายอาศัยอยู่และนั่งสมาธิบนโขดหินริมฝั่งแม่น้ำคงคา เราจึงอาจพบเห็นเหล่าโยคีมากมายในเมืองนี้ ชาวอินเดียรู้จักฤาษีเกศในฐานะหนึ่งในเมืองศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู แต่ชาวโลกรู้จักที่นี่ในฐานะเมืองหลวงของเหล่าโยคีและโยคะ ที่นี่เป็นที่ตั้งของสถาบันโยคะของสวามีศิวะนันทะที่โด่งดังอีกด้วย



เมื่อปี 1968 วงดนตรีเดอะบีเทิลส์ได้เดินทางมาที่นี่ ได้มาสัมผัสจิตวิญญาณแห่งตะวันออกของชมพูทวีปใช้ความสงบสันโดษเขียนเพลงขึ้นมาหลายเพลงในอาศรมฤาษีบริเวณนี้ เช่น Beatles, Dear Prudence, Rishikesh ‘68 ลองฟังดูครับ “http://youtu.be/ylEckICwU2w”



วันพุธผมชวน Sanzhar เพื่อนสนิทชาวคีร์กีซสถานให้ไปด้วยกัน Sanzhar ตกลงทันโดยไม่คิดมาก ผมจึงเช็ครายละเอียดการเดินทาง พบว่าหากเหมารถแท็กซี่เพื่อเดินทางไป Rishikesh ผ่านเว็บไซต์ http://www.gozocabs.com/booking/cabrate เฉพาะขาไปเทียวเดียวไม่รวมขากลับอยู่ที่ 3,299 รูปี ผมเช็คราคารถโดยสารประจำทาง (บ.ข.ส.) อินเดียพบว่า ค่าโดยสารไปกลับเพียง 700 รูปี จึงตกลงใจที่จะเดินทางไป “Rishikesh” ด้วยรถโดยสารประจำทาง ผมกับ Sanzhar ไปดำเนินการจองตั๋วรถโดยสารประจำทาง (บ.ข.ส.) อินเดียเรียบร้อย และจองโรงแรมที่พักผ่านแอพ “Booking.com” (ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องจ่ายผ่านบัตรเครดิต สามารถทำรายการยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้ ไปจ่ายเงินสดที่โรงแรมขณะ walk in) ต่อมาในเช้าวันศุกร์ 2 สาวชาวมองโกเลีย Tuul กับ Suvd  ทราบข่าวว่าผมกับ Sanzhar จะไป Rishikesh กัน จึงขอร่วมเดินทางไปด้วย ผมจึงต้องทำรายการยกเลิกโรงแรมที่จองไว้ เนื่องจากโรงแรมที่ผมจองไว้เต็มแล้ว ผมบอก 2 สาวว่า สำหรับตั๋วรถโดยสารเราต้องเดิน walk in เข้าไปซื้อก่อนขึ้นรถไม่แน่ใจว่าจะได้ตั๋วมั้ย 2 สาวบอกยินดีพร้อมจะเสี่ยง ซึ่งในที่สุดก็ได้ตั๋วจริงๆ ตามที่คาดไว้ หลังจากได้ตั๋วแล้วก่อนขึ้นรถผมจึงจองห้องพักโรงแรมผ่านแอพ “Booking.com” อีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นที่มาของทริปนี้ครับ

พวกเราออกเดินทางจากเดลีเมื่อเวลาประมาณ 16.30 น. และเดินทางถึงเมือง “Rishikesh” เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นที่อินเดีย) โดยสวัสดิภาพ คนขับใช้ความเร็วสูงสุดประมาณ 60-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางเพียง 230 กม.เศษๆ จากเดลีจึงใช้เวลาเดินทางถึงประมาณ 5-6 ชม. หลังจากถึงที่พักแล้วก็แยกย้ายกันพักผ่อน ผมพักห้องเดียวกับ Sanzhar ส่วน Tuul พักกับ Suvd เรานัดกันไปดูพระอาทิตย์ขึ้นตอน 6 โมงเช้า 

6 โมงเช้าวันเสาร์พวกเราออกเดินสำรวจตามริมฝั่งแม่น้ำ ใช้มือวักน้ำขึ้นมาสัมผัส รู้สึกดีใจที่ได้เดินทางดั้นด้นมาจนถึงต้นน้ำแม่น้ำคงคาซึ่งหล่อเลี้ยงอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกมาอย่างยาวนานหลายพันปีแล้ว 

เนื่องจากในเช้าวันเสาร์มีฝนตก กว่าจะหยุดก็เกือบเที่ยงแล้ว วันนี้เรามองเราไม่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้า มิหนำซ้ำแผนการเดิมที่จะเช่ารถสกู๊ตเตอร์ออกสำรวจในตัวเมืองเป็นอันล้มเลิกไป ต้องรอถึงตอนบ่ายจึงจะเริ่มกิจกรรมตามแผนที่เปลี่ยนไป กิจกรรมที่พวกเราได้มีโอกาสสัมผัสตลอดระยะเวลา 2 คืนกับ 2 วันเต็มมีดังนี้



1. ล่องแก่งแม่น้ำคงคา วันเสาร์หลังมื้อเที่ยง พวกเราออกเดินสำรวจและสอบถามราคาการล่องแก่งตามร้านต่างๆ หลายร้านเพื่อเปรียบเทียบราคากัน พบว่าราคาล่องแก่งโดยทั่วไปใกล้เคียงกันดังนี้ ล่องแก่งระยะทาง 18 กิโลเมตรคิดราคาคนละ 400 รูปี ส่วนระยะทาง 26 กิโลเมตรคิดราคาคนละ 650 รูปี แต่มีข้อสังเกตคือ บางร้านราคาอาจจะแพงกว่านี้อีกเท่าตัวจนถึง 1,500 รูปีต่อคน เพราะมีอุปกรณ์ชุด swim suit และอุปกรณ์อื่นๆ ทันสมัยครบชุด พวกเราเลือกราคาที่ไม่แพงครับ และเลือกระยะทาง 24 กิโลเมตรซึ่งไกลสุดที่มีให้บริการล่องแก่งซึ่งจะใช้เวลาในการล่องแก่งประมาณ 6 ชั่วโมง  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจดังนี้

- Trecking 4 days 1 person 12,000 Rs. 
- Trecking 1 Person 1 day 1,250 Rs. (ใช้เวลาประมาณ 6 hrs.)
- Bungi jump 3,500 Rs :1 person ระยะทาง 18 km from Rishikesh 
- Wildlife Safari ระยะทาง 25 km . 1,800 (รอ 2.5 ชม.ไป-กลับ) + 700 (ต่อคนที่ park)
- Kayaking 2,000 Rs. : Kayak  หากไม่รู้ทาง หรือมาคนเดียวต้องการเพื่อนร่วมทาง ต้องเช่าอีก 1 kayak พร้อม instructor เป็น 4,000 Rs.
อัตราแลกเปลี่ยน 1 Rs:0.51 บาท (คิดเป็นเงินไทยเอา 2 หารโดยประมาณ)



วิวทิวทัศน์ขณะล่องแก่งงดงามตระการตามาก น้ำเชี่ยวไหลแรง และเย็นเหมือนน้ำแข็งละลาย ผู้ควบคุมแพของพวกเรา ชื่อ Laxman กับ เมเนยาร  โดยเฉพาะ Laxman อัธยาศัยดีมากมีจิตใจ service mind อธิบายขั้นตอนการควบคุมแพ การพาย ตลอดจนบรรยายลักษณะภูมิประเทศจุดต่างๆ ของแม่น้ำคงคาที่พวกเราล่องผ่านอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย Laxman สอนพวกเราให้นำใบพายแตะรวมกันกลางแพลักษณะคล้ายการบูม แล้วกล่าวคำว่า “กังกามายาคี” พร้อมกัน แล้วเอาใบพายมาตีน้ำข้างแพให้น้ำกระเด็น บางช่วงที่เห็นว่าปลอดภัย Laxman อนุญาตให้พวกเราโดดลงไปในแม่น้ำได้ ที่นี่เป็นต้นน้ำแม่น้ำคงคาไม่มีการนำศพทิ้งลงไปในแม่น้ำเหมือนที่เมืองพาราณสีนะครับ ไม่ต้องกังวลว่าดำน้ำลงไปจะเอ๋กับศพไม่มีญาติ ผมกับ Sanzhar ได้ทีโดดลงไปดำผุดดำว่ายในแม่น้ำคนละ 2 ถึง 3 รอบ น้ำในแม่น้ำเย็นยะเยือกเหมือนน้ำแข็งแต่ก็ยังพอทนได้ มาถึงต้นน้ำแม่น้ำคงคาแล้วต้องลองครับ ผมสำลักน้ำไปหลายอึก  พวกเราล่องแก่งเสร็จก็เย็นมากแล้วและเหนื่อยกับการล่องแก่งพอสมควร เมื่อกลับถึงที่พักแล้ววันนี้จึงไม่ได้ออกไปไหนต่อ (สาวๆ มองโกเลียคงบ่นในใจกันอุบ)


2.การท่องเที่ยวในเมือง Rishikesh นั้น จุดหมายที่ห้ามพลาดคือ การเดิน Trecking เล็กๆ จากสะพาน “Laxman Chula” ถึงสะพาน “Ram Chula” โดยใช้เส้นทางเลียบริมแม่น้ำคงคาซึ่งอยู่ฝั่งหนึ่งตรงข้ามกับถนนสายหลัก  ระยะทางประมาณ 3-4 กิโลเมตร ในเช้าวันอาทิตย์พวกเราใช้เวลาประมาณเกือบ 2 ชั่วโมงในการชมความงามของแม่น้ำคงคาที่ไหลผ่านตัวเมือง จากนั้นไปเดินสำรวจตลาด Rishikesh ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสะพาน Ram Chula  ถึง สะพาน Laxman Chula ทั้งสองฝั่ง บริเวณเชิงสะพาน Laxman Chula มีร้านอาหารตะวันตกอยู่ 2 ร้าน คือร้าน Italian Restaurant กับ German Bakery and Restaurant ราคาไม่แพงร้านอาหารทั้งหมดใน Rishikesh เป็นมังสวิรัติ




3.น้ำตก Neer Garh Waterfall ระยะทาง 10 กิโลเมตรเศษจากตัวเมือง Rishikesh  บ่ายวันอาทิตย์พวกเราใช้วิธีเช่ารถสกู๊ตเตอร์ 2 คันเพื่อจะมาน้ำตกนี้ ราคาค่าเช่ารถคันละ 400 รูปี ส่วนรถประเภทอื่นราคาก็แตกต่างกันออกไป  ใช้รถได้ตั้งแต่เช้าจนถึงประมาณ 3 ทุ่ม ซึ่งมีทั้งร้านที่เข้มงวดเรื่องใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศกับร้านที่ให้เช่ารถโดยไม่สนใจใบอนุญาตขับรถ ผมไม่มีใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศใช้แต่เพียงหนังสือเดินทางเท่านั้นเองครับ เกิดปัญหาขึ้นนิดหน่อยเนื่องจาก Sanzhar ขับรถสกูตเตอร์ไม่คล่อง  ระหว่างที่กำลังลองรถสกูตเตอร์กันอยู่นั่นเอง Sandeep หนุ่มอินเดีย ซึ่งทำงานอยู่ในร้านที่พวกเราไปติดต่อเช่ารถจึงถือโอกาสเสนอตัวเป็นคนขับรถให้ ผมไม่มีทางเลือกจึงยอมรับให้ Sandeep มาช่วยขับรถสกู๊ตเตอร์อีกคันให้ ผมถามราคาว่าจะต้องจ่ายเท่าไหร่ Sandeep  บอกแล้วแต่ผมจะให้ละกัน (เอาอีกแระ) ในที่สุดเรามีคนเพิ่มเข้ามาในทริปอีกคนหนึ่งให้การเดินทางใน Rishikesh มีสีสันมากขึ้น Sandeep พาพวกเราขึ้นไปชมน้ำตกโดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมคนละ 30 รูปี (แค่ประมาณ 15 บาทเองครับ) เส้นทางที่ขึ้นไปบนน้ำตกตัดเลียบภูเขา กำลังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จดูน่าหวาดเสียวดี เมื่อจอดรถสกู๊ตเตอร์แล้ว ก็เห็นน้ำตกชั้นล่าง น้ำใสแจ๋ว เราต้องเดินขึ้นเขาไปอีกเป็นระยะทางประมาณ 500 ถึง 600 เมตรก็ถึงจุดที่ Sandeep บอกว่าพอแล้ว น้ำตกที่นี่ใสมากและเย็นมากด้วย เราใช้เวลาอยู่ที่นี่ประมาณเกือบ 1 ชั่วโมง Sandeep บอกว่าเดี๋ยวจะพาขึ้นไปบนเขาต่อ 



Sandeep พาพวกเราไปแวะเยี่ยมบ้านของญาติตัวเองและบ้านแฟน พาแฟนมาแนะนำให้รู้จัก ชื่อน้อง Rajni negi   ส่วนน้องสาว Payal negi สมาชิกในครอบครัวให้การต้อนรับขับสู้พวกเราอย่างดีมากตามอัตภาพ ครั้งหนึ่งในขีวิตครับที่ได้มีโอกาสเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชาวอินเดียในหมู่บ้านชนบทบนเทือกเขาสูง ได้พบปะพูดคุยกับชาวบ้านอย่างใกล้ชิด ดื่มน้ำเย็นๆ จากน้ำประปาภูเขา ดื่มจายนมร้อนๆ จากนมวัวและมิลลิก (ควายอินเดีย) สดๆ  ขนมหวานง่ายๆ ทำจากข้าวบาสมาติกวนกับน้ำตาล  ได้เห็นภูมิปัญญาพื้นบ้านการลาดปูพื้นบ้านชั้นล่างด้วยมูลวัวและมิลลิกสืบเนื่องมาแต่โบราณ วัวกับมิลลิกที่เลี้ยงไว้เพื่อรีดนมอย่างเดียว อัธยาศัยไมตรี รอยยิ้ม การต้อนรับขับสู้แขกผู้มาเยือนจากแดนไกลของชาวบ้านไม่ต่างจากคนไทยในชนบทเลย



ความสูงขณะนั้นประมาณ  1,170 เมตร จากระดับน้ำทะเล  Sandeep ถ่วงเวลาพวกเราอยู่บนเขาจนพลบค่ำจึงพากันกลับลงมา โดยพาพวกเราลัดเลาะไปตามไหล่เขาลงมาตามทางลัดที่รถยนต์ไปไม่ได้ ถึงถนนบางช่วงต้องให้คนซ้อนท้ายเดินลงไปเพราะทางสูงชันมาก แคบและอันตรายมาก ผมนึกแช่งตำหนิ Sandeep ในใจว่าหาเรื่องให้พวกเรามาลำบากจริงๆ แต่อีกใจหนึ่งก็รู้สึกคุ้มค่าที่ได้มาที่นี่ ในที่สุดพวกเราก็เดินทางกลับมาถึงในเมืองเอาตอนประมาณ 1 ทุ่มเศษ หลังจากไปเอากระเป๋าที่ฝากไว้ที่โรงแรมแล้ว Sandeep กับลูกน้องไปส่งผมกับเพื่อนๆ ที่สถานีขนส่ง (ผมจองรถเที่ยวกลับไว้ที่ 21.30 น.)  ผมรู้สึกพอใจกับการให้บริการของ Sandeep มากจึงให้ทิป Sandeep เป็นเงินสดไปจำนวนหนึ่ง พวกเราเดินทางถึงเดลีเวลาประมาณ 04:00 น. ของวันใหม่และถึงโรงแรมประมาณ 05:00 น. เป็นทริปที่สุดขีดจริงๆ ครับ



มีอีกหลายจุดที่ไม่ได้พูดถึงแสดงว่าพลาดไปเนื่องจากมีเวลาจำกัด แต่แค่ได้เพียงล่องแก่งแม่น้ำคงคา ท่ามกลางเทือกเขาหิมาลัย และการได้ขึ้นไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านบนภูเขาสูงในชนบทของอินเดีย ได้เห็นวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายอย่างใกล้ชิด ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วสำหรับการมาเยือนที่นี่ Incredible India จริงๆ ครับ



รายละเอียดเบอร์โทรติดต่อของ Laxman กับ Sandeep ดังนี้ครับ
Laxman Nige: mobile +91 94-58-146341
Sandeep Pundir: mobile +91 8126-88352, email: sandypundir15@gmail.com

ล่องแก่งแม่น้ำคงคา ท่ามกลางเทือกเขาหิมาลัย ณ เมือง Rishikesh รัฐอุตรขันธ์: Go rafting in Rishikesh, Uttarakhand




ล่องแก่งแม่น้ำคงคาท่ามกลางเทือกเขาหิมาลัย ณ เมือง Rishikesh ระยะทาง 26 กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง with Tuul Bat-erdene,  Suvd Chinbat, Sanzhar Ubdekarimov มาแล้วต้องโดดน้ำครับ

นาทีที่ 5          น้ำเชี่ยวครั้งแรก
นาทีที่ 12.08   น้ำเชี่ยว
นาทีที่ 16.08   โดดน้ำครั้งที่ 1
นาทีที่ 21        น้ำเชี่ยว
นาทีที่ 27        น้ำเชี่ยว
นาทีที่ 28.10   โดดน้ำครั้งที่ 2

ล่องแก่งแม่น้ำคงคา วันเสาร์หลังมื้อเที่ยง พวกเราออกเดินสำรวจและสอบถามราคาการล่องแก่งตามร้านต่างๆ หลายร้านเพื่อเปรียบเทียบราคากัน พบว่าราคาล่องแก่งโดยทั่วไปใกล้เคียงกันดังนี้ ล่องแก่งระยะทาง 18 กิโลเมตรคิดราคาคนละ 400 รูปี ส่วนระยะทาง 26 กิโลเมตรคิดราคาคนละ 650 รูปี แต่มีข้อสังเกตคือ บางร้านราคาอาจจะแพงกว่านี้อีกเท่าตัวจนถึง 1,500 รูปีต่อคน เพราะมีอุปกรณ์ชุด swim suit และอุปกรณ์อื่นๆ ทันสมัยครบชุด พวกเราเลือกราคาที่ไม่แพงครับ และเลือกระยะทาง 24 กิโลเมตรซึ่งไกลสุดที่มีให้บริการล่องแก่งซึ่งจะใช้เวลาในการล่องแก่งประมาณ 6 ชั่วโมง  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจดังนี้

- Trekking  trek4 days 1 person ราคา 12,000 รูปี

- Trekking 1 Person 1 day 1,250  รูปี (ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง)

- Bungi jump 3,500  รูปี : 1 person ระยะทาง 18 km from Rishikesh 

- Wildlife Safari ระยะทาง 25 km . 1,800  รูปี (รอรับกลับ 2.5 ชม.ไป-กลับ) + 700 รูปี (ต่อคนที่ park)

- Kayaking 2,000 รูปี : Kayak  หากไม่รู้ทาง หรือมาคนเดียวต้องการเพื่อนร่วมทาง ต้องเช่าอีก 1 kayak พร้อม instructor เป็น 4,000 รูปี

อัตราแลกเปลี่ยน 1  รูปี:0.51 บาท (คิดเป็นเงินไทยเอา 2 หารโดยประมาณ)

วิวทิวทัศน์ขณะล่องแก่งงดงามตระการตามาก น้ำเชี่ยวไหลแรง และเย็นเหมือนน้ำแข็งละลาย ผู้ควบคุมแพของพวกเรา ชื่อ Laxman กับ เมเนยาร  โดยเฉพาะ Laxman อัธยาศัยดีมากมีจิตใจ service mind อธิบายขั้นตอนการควบคุมแพ การพาย ตลอดจนบรรยายลักษณะภูมิประเทศจุดต่างๆ ของแม่น้ำคงคาที่พวกเราล่องผ่านอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย Laxman สอนพวกเราให้นำใบพายแตะรวมกันกลางแพลักษณะคล้ายการบูม แล้วกล่าวคำว่า “กังกามายาคี” พร้อมกัน แล้วเอาใบพายมาตีน้ำข้างแพให้น้ำกระเด็น บางช่วงที่เห็นว่าปลอดภัย Laxman อนุญาตให้พวกเราโดดลงไปในแม่น้ำได้ ที่นี่เป็นต้นน้ำแม่น้ำคงคาไม่มีการนำศพทิ้งลงไปในแม่น้ำเหมือนที่เมืองพาราณสีนะครับ ไม่ต้องกังวลว่าดำน้ำลงไปจะเอ๋กับศพไม่มีญาติ ผมกับ Sanzhar ได้ทีโดดลงไปดำผุดดำว่ายในแม่น้ำคนละ 2 ถึง 3 รอบ น้ำในแม่น้ำเย็นยะเยือกเหมือนน้ำแข็งแต่ก็ยังพอทนได้ มาถึงต้นน้ำแม่น้ำคงคาแล้วต้องลองครับ ผมสำลักน้ำไปหลายอึก  พวกเราล่องแก่งเสร็จก็เย็นมากแล้วและเหนื่อยกับการล่องแก่งพอสมควร เมื่อกลับถึงที่พักแล้ววันนี้จึงไม่ได้ออกไปไหนต่อ (สาวๆ มองโกเลียคงบ่นในใจกันอุบ)

Friday, February 19, 2016

"Hauz Khas Village"



กลับมาย้อนรอยสำรวจภูมิประเทศกันที่ "Hauz Khas Village" อีกรอบหนึ่งแต่คราวนี้เป็นการตะลุยราตรี "Hauz Khas Village" ในอีกมุมหนึ่งเพื่อศึกษาอินเดียทุกมิติให้ถึงแก่น


สถานที่นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสถานบันเทิงยามราตรีที่มีชื่อเสียงของอินเดียครับ ใครชอบเที่ยวกลางคืนมาที่นี่ไม่ผิดหวัง มีร้านรวง ผับ บาร์ ไนท์คลับ ร้านอาหารเปิดให้บริการแข่งกันพรึ่บพรับ แสงไฟหลากสีสันทำหน้าที่ดึงดูดผู้ที่ชื่นชอบแสงสีให้หลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ไนท์คลับที่มีชื่อเสียงที่สุดของย่านนี้น่าจะเป็น "Hauz Khas Social" ที่พวกเราไปฉลองกัน



แต่ถ้าตั้งใจจะมาดูสาวสวยแข่งกันแต่งตัววับๆ แวมๆ นุ่งสั้น นุ่งน้อยห่มน้อย สะโพกฟิต นมปลิ้น แบบในเมืองไทย ท่านอาจมาผิดที่ เพราะสาวๆ ที่นี่ถึงแม้จะไม่ทิ้งความสวยงามแบบผู้หญิงแต่ก็แต่งตัวอย่างมิดชิดรัดกุม แม้แต่เนินถันงามๆ ท่านก็ไม่มีโอกาสได้เห็น


ส่วนสภาพของร้านเป็นตึกเก่าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านโบราณ "Hauz Khas Village" ที่มีสุสานของบุคคลสำคัญในจักรวรรดิมุฆัลหรือโมกุล อายุหลายร้อยปีตั้งอยู่ถัดไปจากหมู่บ้านไม่ไกลนักชนิดที่เรียกว่าเสียงเพลงที่เปิดดังสนั่นในหมู่บ้านอาจปลุกผู้ที่กำลังหลับไหลอยู่ในสุสานลุกขึ้นมาเต้นด้วยความเร่าร้อนไปตามจังหวะดนตรี "เทคโนแดนซ์" ก็เป็นได้ หากเป็นบ้านเราหลายคนคงจะไม่พอใจที่ปล่อยให้มีการเปิดสถานบันเทิงในบริเวณเดียวกับโบราณสถาน และยิ่งไปกว่านั้นเป็นสุสานโบราณเช่นนี้ แต่ที่นี่คืออินเดียครับ อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ "Incredible India"


Tuesday, February 16, 2016

"Hauz Khas Village and Deer Park"

 

ตั้งอยู่ในเขต South Deli  ชาวอินเดียรู้จักกันโดยทั่วไปว่า “A.N. Jha Deer Park”  สถานที่นี้เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ มีสวนกวางซึ่งมีกวางจริงๆ จำนวนมากอาศัยอยู่ แต่ก็เห็นมีสัตว์ชนิดอื่นอยู่ด้วยเหมือนกันครับเช่น นกยูง ลิง เป็นต้น มีทะเลสาบเล็กๆ (ความจริงน่าจะเป็นบึงมากกว่า) ซึ่งเดิมเป็นอ่างเก็บน้ำโบราณชื่อ “Hauz Khas Tank” เป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง 




ภายในสวนแห่งนี้ยังมีสุสานของบุคคลสำคัญในจักรวรรดิโมกุลซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.1843 อยู่ด้วย มีการก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอีกหลายครั้ง ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ไม่ได้ใช้เก็บน้ำแล้ว แต่เปิดเป็นสวนสาธารณะให้บริการประชาชนแทน 








ที่นี่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้าเยี่ยมชม ตอนเย็นๆ มีหลายครอบครัวทั้งพ่อแม่ลูกพร้อมหน้าพร้อมตา มีหนุ่มสาวมาออกกำลังกายกันอย่างคับคั่ง คู่รักหลายคู่นั่งกอดพลอดรักจู๋จี๋กันตามสุมทุมพุ่มไม้ ไม่เว้นแม้กระทั่งตามมุมอับในบริเวณโบราณสถาน แต่เรทของความสยิวคงจะน้อยกว่าที่ "Garden of Five Senses" อยู่พอสมควร



บริเวณด้านหน้าสวนมี “Hauz Khas Village” ซึ่งมีร้านรวงต่างๆ เปิดให้บริการ ทั้งร้านขายของที่ระลึก ผับบาร์ แข่งกันให้บริการอย่างหนาแน่น  แต่วันนี้พวกเราไม่ได้ใช้บริการร้านเหล่านี้ครับ

Sunday, February 14, 2016

“The Garden of Five Senses”





“Garden of Five Senses” คนที่ตั้งชื่อสวน น่าจะต้องการสื่อว่าใครก็ตามเมื่อได้มาสัมผัสที่สวนแห่งนี้จะบังเกิดความรู้สึกหลากหลายอารมณ์ เพราะความหมายของชื่อสวนประมาณ "สวนห้าความรู้สึก" เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับที่มีพื้นที่ประมาณ 80,000 ตารางเมตร ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเดลี “Pradeep Sachdeva” พัฒนาโดยการท่องเที่ยวเมืองเดลี ด้วยงบประมาณ 105 ล้านรูปี ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ.2546 พื้นที่บางส่วนของสวนสร้างขึ้นบนภูเขาหิน การจัดสวนมีการแบ่งโซนหลายรูปแบบ มีทั้งการจัดสวนแบบโมกุล สวนน้ำ สวนสมุนไพร สวนพลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ ชื่อของสวนมีที่มาจากการจัดสวนและออกแบบสวนให้กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกทั้งห้าด้วยความงดงามของสวน ความมีเสน่ห์ดึงดูดใจ การได้สัมผัสกลิ่นหอมหวลรัญจวนใจของมวลดอกไม้ สรรพสำเนียงและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ 


ชื่อของสวนมีที่มาจากการจัดสวนและออกแบบสวนให้กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกทั้งห้าด้วยความงดงามของสวน ความมีเสน่ห์ดึงดูดใจ การได้สัมผัสกลิ่นหอมหวลรัญจวนใจของมวลดอกไม้ สรรพเสียงสำเนียงและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ค่าธรรมเนียมเยี่ยมชมสำหรับผู้ใหญ่ 30 รูปีครับช่วงที่พวกเรามาเยี่ยมชมในวันนี้ขาดระบบน้ำ ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงในสวน สระน้ำหรือบ่อน้ำต่างๆ ไม่มีน้ำ ทำให้แปลงดอกไม้และซุ้มต่างๆในสวนหลายจุดไม่มีน้ำประกอบ ความงดงามที่ควรจะเป็นจึงพลอยหดหายไปด้วย


ลืมไปเสียสนิทว่าวันนี้ 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก เมื่อเดินลึกเข้าไปในสวน สายตาซุกซนของผมอดไม่ได้ที่จะเหลือบไปมองเห็นคู่รักเป็นคู่ๆ นั่งกอดพลอดรักกันอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้ คู่ที่นั่งอยู่ในบริเวณที่แจ้งยังไม่เท่าไหร่ แต่คู่ที่ทั้งนั่งและนอนอยู่ในลักษณะลับสายตาออกไป และคู่ที่นั่งอยู่ในลักษณะหลบมุม แต่ละคู่อยู่ในอาการที่เรียกว่าแทบจะผสมพันธุ์กัน หรือไม่ก็แทบจะหลอมรวมเป็นคนเดียวกัน ที่เห็นไม่ใช่แค่คู่สองคู่นะครับ น่าจะมีเป็นร้อยคู่ แต่ละคู่ก็ไม่สนใจซึ่งกันและกัน มีแต่พวกเราเดินไปเขินกันไปเอง มีบางจุดของสวนที่เราเดินหลงเข้าไปแล้วต้องรีบผละออกมาอย่างกระทันหัน ผมคิดแปลกใจว่าทำไมไม่ไปเปิดโรงแรมเสียให้รู้แล้วรู้รอดไป

“The Garden of Five Senses”





“Garden of Five Senses” คนที่ตั้งชื่อสวน น่าจะต้องการสื่อว่าใครก็ตามเมื่อได้มาสัมผัสที่สวนแห่งนี้จะบังเกิดความรู้สึกหลากหลายอารมณ์ เพราะความหมายของชื่อสวนประมาณ "สวนห้าความรู้สึก" เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับที่มีพื้นที่ประมาณ 80,000 ตารางเมตร ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเดลี “Pradeep Sachdeva” พัฒนาโดยการท่องเที่ยวเมืองเดลี ด้วยงบประมาณ 105 ล้านรูปี ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ.2546 พื้นที่บางส่วนของสวนสร้างขึ้นบนภูเขาหิน การจัดสวนมีการแบ่งโซนหลายรูปแบบ มีทั้งการจัดสวนแบบโมกุล สวนน้ำ สวนสมุนไพร สวนพลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ ชื่อของสวนมีที่มาจากการจัดสวนและออกแบบสวนให้กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกทั้งห้าด้วยความงดงามของสวน ความมีเสน่ห์ดึงดูดใจ การได้สัมผัสกลิ่นหอมหวลรัญจวนใจของมวลดอกไม้ สรรพสำเนียงและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ 


ชื่อของสวนมีที่มาจากการจัดสวนและออกแบบสวนให้กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกทั้งห้าด้วยความงดงามของสวน ความมีเสน่ห์ดึงดูดใจ การได้สัมผัสกลิ่นหอมหวลรัญจวนใจของมวลดอกไม้ สรรพเสียงสำเนียงและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ค่าธรรมเนียมเยี่ยมชมสำหรับผู้ใหญ่ 30 รูปีครับช่วงที่พวกเรามาเยี่ยมชมในวันนี้ขาดระบบน้ำ ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงในสวน สระน้ำหรือบ่อน้ำต่างๆ ไม่มีน้ำ ทำให้แปลงดอกไม้และซุ้มต่างๆในสวนหลายจุดไม่มีน้ำประกอบ ความงดงามที่ควรจะเป็นจึงพลอยหดหายไปด้วย


ลืมไปเสียสนิทว่าวันนี้ 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก เมื่อเดินลึกเข้าไปในสวน สายตาซุกซนของผมอดไม่ได้ที่จะเหลือบไปมองเห็นคู่รักเป็นคู่ๆ นั่งกอดพลอดรักกันอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้ คู่ที่นั่งอยู่ในบริเวณที่แจ้งยังไม่เท่าไหร่ แต่คู่ที่ทั้งนั่งและนอนอยู่ในลักษณะลับสายตาออกไป และคู่ที่นั่งอยู่ในลักษณะหลบมุม แต่ละคู่อยู่ในอาการที่เรียกว่าแทบจะผสมพันธุ์กัน หรือไม่ก็แทบจะหลอมรวมเป็นคนเดียวกัน ที่เห็นไม่ใช่แค่คู่สองคู่นะครับ น่าจะมีเป็นร้อยคู่ แต่ละคู่ก็ไม่สนใจซึ่งกันและกัน มีแต่พวกเราเดินไปเขินกันไปเอง มีบางจุดของสวนที่เราเดินหลงเข้าไปแล้วต้องรีบผละออกมาอย่างกระทันหัน ผมคิดแปลกใจว่าทำไมไม่ไปเปิดโรงแรมเสียให้รู้แล้วรู้รอดไป

“Jantar Mantar” หรือ “จันทาร์ มันทาร์”



“จันทาร์ มันทาร์”  เป็นบริเวณหอดูดาวซึ่งเป็นสถานที่ที่รวบรวมเครื่องมือทางดาราศาสตร์ ถูกสร้างขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ 18 เป็นหอดูดาว 3 ใน 5 แห่งซึ่งสร้างโดยมหาราชาไสว จัย สิงห์ที่สอง ผู้ปกครองชาวราชปุตร  คำว่า “จันทาร์” มาจากคำในภาษาสันสกฤต “ยันตระ” ซึ่งแปลว่า “อุปกรณ์” ส่วนคำ “มันทาร์” มาจาก “มันตระ” ซึ่งแปลว่า “สูตร”



มหาราชาไสว จัย สิงห์ ซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่ของจักรวรรดิโมกุล ภายใต้สมเด็จพระจักรพรรดิออรังเซพ โดยต่อมาได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็น "มหาราชา" และ "ไสว" จากสมเด็จพระจักรพรรดิโมฮัมมัดชาห์ (Emperor Mohammad Shah) 



มหาราชาไสว จัย สิงห์ที่ 2 แห่งแอมแมร์ ได้สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ที่ชัยปุระในระหว่างปี พ.ศ.2270  และ พ.ศ.2256 ซึ่งนำรูปแบบมาจากเดลีเมืองหลวงของจักรวรรดิโมกุล หอดูดาวลักษณะนี้ได้ทรงสร้างทั้งหมด 5 แห่งต่างสถานที่กัน รวมถึงที่ชัยปุระ และเดลี



ได้รับการยกย่องโดยองค์การยูเนสโกว่า "เป็นการแสดงออกถึงความชาญฉลาดทางดาราศาสตร์และแนวความคิดทางจักรวาลวิทยาของราชสำนักในช่วงปลายของยุคโมกุล" ("an expression of the astronomical skills and cosmological concepts of the court of a scholarly prince at the end of the Mughal period") ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโกในปี พ.ศ.2553

ค่าเข้าชมที่นี่สำหรับชาวต่างชาติคนละ 100 รูปีครับแต่เช่นเคยแสดงหนังสือเดินทางประเทศไทยลดราคาเหลือแค่ 10 รูปี (ราคา BIMSTEC)

“Agrasen ki Baoli”



ในเรื่องของการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค มนุษย์ยุคใหม่อย่างพวกเรามีความสะดวกสบายกับระบบน้ำประปาที่อำนวยความสะดวกทั้งในเรื่องของการใช้ดื่มกิน อาบ ซักล้าง หรือประกอบอาหารในครัวเรือน จนพวกเราอาจจะเผลอมองข้ามหรือละเลยคุณค่าของน้ำไปบ้าง แต่ถ้าเราลองจินตนาการถึงผู้คนในสมัยโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนทางตอนเหนือของชมพูทวีปเมื่อพันปีที่แล้วที่ผืนดินบางแห่งมีปัญหาเรื่องการกักเก็บน้ำ ในช่วงฤดูร้อนก็มีอุณหภูมิสูงมาก เมื่อฝนเทกระหน่ำลงมาบนพื้นดินที่ไม่อุ้มน้ำ น้ำเหล่านั้นก็จะซึมผ่านพื้นดิน หรือไม่ก็ระเหยหายไปอย่างรวดเร็ว คนในยุคนั้นแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างไร




วิธีการสร้างบ่อน้ำสำหรับกักเก็บน้ำ คงจะผ่านการลองผิดลองถูกมาหลายรูปแบบ ผ่านกาลเวลามาหลายชั่วอายุคน จนในที่สุดได้ประยุกต์วิธีสร้างบ่อน้ำแบบใหม่นี้ขึ้นมา ลองสังเกตุดูนะครับว่าการทำบ่อน้ำเป็นขั้นบันไดแบบนี้ทำให้นำสามารถไหลลงจากด้านบนลงไปสู่เบื้องล่างลงไปยังบ่อน้ำทรงกลมได้ในฤดูแล้ง ขั้นบันไดจำนวนมากและซับซ้อนเหล่านี้จะช่วยรักษาปริมาณน้ำในบ่อเบื้องล่างไว้เป็นอย่างดี แต่ขณะเดียวกันเมื่อถึงฤดูฝน บันไดเหล่านี้ก็ถูกใช้เป็นพื้นที่ในการรองรับน้ำเป็นขั้นๆ ขึ้นมาจนถึงด้านบน ทำให้มีความสะดวกสบายในการนำน้ำไปใช้ในการอุปโภคบริโภค คนโบราณฉลาดนะครับ


บ่อน้ำขั้นบันได (step well) ของคนอินเดียโบราณในรัฐทางตอนเหนือของอินเดียจึงเป็นคำตอบในการเก็บกักรักษาน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคในยามขาดแคลน


ในภาษาฮินดี บ่อน้ำแบบขั้นบันไดมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น  Baoli bawdi baori bauri vapi  vapika ในรัฐราชาสถานและคุชราต เรียกบ่อน้ำประเภทนี้ว่า  baoli  bavadi  vav  vavdi และ vavadi (ข้อมูลจาก Wikipedia)


“Baoli” แห่งนี้ ตั้งอยู่ท่ามกลางตึกรามบ้านช่องสมัยใหม่ที่ถนน Hailey Road อยู่ใกล้ย่านช้อปปิ้ง “Connaught Place” และ “Jantar Mantar” ในกรุงนิวเดลีนี่เองครับ  ตัวอาคารมีความยาว 60 เมตร กว้าง 15 เมตร มีบันไดลงไปถึงพื้นเบื้องล่าง 103 ขั้น  ถึงแม้ว่าจะไม่มีประวัติบันทึกไว้ที่จะพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้สร้าง “Agrasen ki Baoli” แต่ก็เชื่อกันว่าตามตำนานถูกสร้างโดยกษัตริย์ Agrasen ในยุค “Mahabharat” และถูกสร้างขึ้นใหม่เมื่อคริสตศตวรรษที่ 14 


ด้วยความที่บ่อน้ำแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมานานแล้ว เป็นโบราณสถานที่มีห้องหับลึกลับดูวังเวงตั้งอยู่ท่ามกลางตึกรามบ้านช่องสมัยใหม่ ทำให้ที่นี่มีเรื่องราวน่าขนลุกสยองขวัญ  "Agrasen Ki Baoli" เป็นบ่อน้ำโบราณที่มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีเหมือนกัน ชาวบ้านที่นี่ต่างมีความเชื่อว่ามีวิญญาณ ที่ยังคงเฝ้าวนเวียน คอยล่อลวงให้ผู้คนตกลงไป แต่ตอนที่ผมมาเยือนที่นี่ก็ไม่ได้รู้สึกอะไร ไม่ได้รู้สึกอินไปกับเรื่องเล่า



สำหรับการเยี่ยมชมที่นี่ไม่เก็บค่าบริการครับ หลังจากเยี่ยมชมจนพอใจแล้วพวกเราก็เดินออกไปหาอะไรรองท้องมื้อเที่ยงกันที่บริเวณย่าน Connaugh Place ซึ่งอยู่ห่างจากที่นี่ไปอีกประมาณ 1.5 กม.แล้วพากันเดินไปเยี่ยมชม “Jantar Mantar” กันต่อ

RevolverMap