ปัญหา
เข้าแก้ไขปัญหาได้อย่างไม่ยากเย็น แต่เมื่อพิจารณาธรรมชาติและความเป็นไปของปัญหาแล้ว พบว่ายุคปัจจุบันมีความซับซ้อนและความละเอียดอ่อนเป็นอย่างยิ่ง และปัญหาที่ยังคงดำรงอยู่ในทุกมิติคือเศรษฐกิจ การเมือง การทหารและสังคมจิตวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติด้านสังคมจิตวิทยาเป็นเรื่องที่มีความละเอียอดอ่อนเป็นอย่างมาก
ดัง ที่ “Samuel Huntington” นักวิชาการชาวอเมริกันเคยกล่าวเตือนไว้ในบทความเรื่อง “The Clash of Civilization” (1993) มาแล้วว่า “ปัญหาในอนาคต จะเป็นเรื่องของ “สงครามอารยธรรม”
ข้อพิจารณาการที่รัฐจะต้องเตรียมยุทธศาสตร์และองค์ความรู้เพื่อเตรียม รองรับสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดวงจรทางยุทธวิธีในการคัดสรรบุคคลเข้าสู่ขบวนการก่อ ความไม่สงบนั้น จะต้องทำความเข้าใจกับสภาพธรรมชาติของสถานการณ์เสียก่อน ซึ่งในเรื่องนี้ สุรชาติ บำรุงสุข (2547, 120-121) ได้ให้ข้อคิดทางยุทธศาสตร์ไว้ว่า |
1. การก่อความไม่สงบ (insurgency) เป็นลักษณะของ “สงครามการเมือง” (political warfare) ไม่ใช่ “สงครามการทหาร” (military warfare) ดังนั้นรัฐที่ต่อสู้จะต้องตระหนักถึงมิติทางการเมืองที่ดำรงอยู่ในสงครามนี้มิใช่การใช้มาตรการทางทหารในรูปของการค้นหาและทำลาย (search and destroy) หรือจับกุมและปราบปรามด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างสุดขั้ว
2. ชัยชนะในสงครามนี้เป็น “ชัยชนะทางการเมือง” (political victory) กล่าวคือ การเมืองเป็นปัจจัยชี้ขาด การทหารเป็นปัจจัยสนับสนุน
3. การเอาชนะจิตใจประชาชน (to win over heart and mind) เป็นส่วนสำคัญของชัยชนะในสงคราม
4. รัฐจะต้องดำเนินการในมิติอื่น ๆ ทั้งในรูปของโครงการทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อก่อให้เกิดการ “ดึงมวลชน” มาเป็นพวก
นอกจากนี้ “หวอ เหงียนย้าป” นักการทหารเวียดนามชื่อก้องโลก ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเอาชนะสงครามปลดแอกจากระบบอาณานิคมของ ฝรั่งเศส ได้กล่าวเอาไว้ในวาระเฉลิมฉลองชัยชนะต่อเมืองเดียนเบียนฟู ประจำปี ค.ศ.1984 ว่า
“ประชาชนเป็นปัจจัยชี้ขาดที่สำคัญที่สุดในสงครามประชาชน”
จากข้อคิดทางยุทธศาสตร์ข้างต้น พิจารณาถึงแง่คิดในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จะเอาชนะความคิดและจิตใจของประชาชน รวมถึงแม้กระทั่งเอาชนะความคิดของสมาชิกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ เพื่อที่จะตัดวงจรในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขบวนการ ดังนี้
1. การแก้ปัญหาด้วยกำลังบังคับ หรือการใช้ความรุนแรงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา จะต้องใช้หลักสันติวิธีเป็นธงนำ แต่ไม่ใช่่ โดย "ลัทธิสันติวิธียอมจำนน"
2. การเอาชนะที่สำคัญที่สุด คือ “การเอาชนะที่ความคิดและจิตใจของประชาชน” (heart and mind)
3. บทเรียนจากประวัติศาสตร์สงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามระหว่างฝรั่งเศษ -อัลจีเรีย สงครามเวียดนาม สงครามในอัฟกานิสถาน หรือแม้แต่กระทั่งในอิรัก ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งแล้วว่า รัฐที่ใช้อำนาจกำลังรบเป็นหลักไม่เคยเอาชนะสงครามได้เลย
4. การบังคับใช้กฎหมาย จะต้องบังคับใช้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรม สร้างหลักนิติรัฐให้เข้มแข็ง
ข้อเสนอแนะ
ในฐานะที่เป็นฟันเฟืองตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่งที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาตลอดระยะเวลานับสิบปี ผมมีข้อเสนอแนะไว้กว้าง ๆ ดังนี้
1. ต้องเร่งสร้างทัศนคติใหม่ให้แก่บุคลากร ข้าราชการ พนักงานของรัฐ หรือแม้แต่กระทั่งประชาชนในพื้นที่ให้ยอมรับและตระหนักถึงแนวคิดเรื่อง “เอกภาพบนความต่าง” (unity among diversity) ทลายกำแพงทางสังคมและสร้างสัมพันธภาพเชื่อมต่อระหว่างชุมชนมุสลิมและที่ไม่ใช่มุสลิมในพื้นที่ โดยผลักดันให้เป็นนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่รัฐประชาชาติที่ชนในชาติมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันภายใต้ร่มธงเดียวกัน
2. เน้นการบริหารแบบบูรณาการทุกมิติ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จิตวิทยา และความมั่นคง การแก้ไขปัญหาทุกกระทรวงทบวงกรม จะต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กันทุกมิติ มิใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทหารตำรวจ หรือฝ่ายความมั่นคงแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วยการสืบสวนจับกุม ปราบปราม หลังเกิดเหตุ โดยละเลยปัญหาทางการศึกษา สภาพสังคม และปัญหาปากท้องของประชาชนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
3. จัดกระบวนการสร้างมวลชนใหม่ ให้ความสำคัญกับงานมวลชนและการรุกทางการเมือง ด้วยการเอาชนะความคิดและจิตใจ “heart and mind” หรือ “เพื่อแยกน้ำออกจากปลา” ทำอย่างไรที่จะทำให้ปลาอยู่ในน้ำไม่้ได้ ให้ความสำคัญกับงานทางการเมืองงานชุมชนมวลชนสัมพันธ์ดึงผู้รู้ ผู้นำ ศาสนา หรือผู้นำท้องถิ่นมาเป็นพวก เผยแพร่ความรู้หรือหลักการศาสนาที่ถูกต้อง ใช้การปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation : IO) หักล้างการปลูกฝังแนวความคิดของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่บิดเบือนหลักการศาสนาอิสลามอันบริสุทธิ์เพื่อนำมารับใช้อุดมการณ์ทางการเมือง
4. สร้างองค์กรใหม่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนในเรื่องของ “การสั่งการและการควบคุม” (command and control) โดยยึดหลัก “การเมืองนำการทหาร” เพื่อจะก่อให้เกิดผลในรูปของแนวความคิดใหม่ ๆ เน้นการสร้างมวลชนใหม่ และสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะในเรื่อง “Otop” หรือ “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” และรวมถึงการดำเนินการของภาครัฐในกรอบบูรณาการ รวมทั้งสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพของการบริหารภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ องค์กรที่มีลักษณะการทำงานเป็นทีม (Team Work) มีเอกภาพ (unity) ไม่มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นพระเอกฉายเดี่ยวเพียงคนเดียว (one man show)
5. สร้างประสิทธิภาพและระบบของการศึกษาใหม่ ที่สอดคล้องและเอื้อต่อสภาพชีวิตและ ความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ สร้างระบบการจัดการ ร.ร.เอกชนสอนศาสนาอิสลามให้มีมาตรฐาน เข้าสู่ระบบธรรมาภิบาล (good governance) การบริหารจัดการ หลักสูตรการเรียนการสอน สามารถตรวจสอบกำกับดูแลได้ รวมทั้งต้องกล้าที่จะจัดการกับปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม การสำแดงข้อมูลจำนวนนักเรียนอันเป็นเท็จของบางโรงเรียนอย่างเด็ดขาด รวมทั้งจะต้องบริหารจัดการให้เยาวชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษาของรัฐได้อย่างทั่วถึง
6. เพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) ทั้งในแง่ของการพัฒนาศักยภาพการสืบสวนสอบสวน การข่าวกรอง การบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากร เครื่องมือพิเศษ และนิติวิทยาศาสตร์ ตลอดจนคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ โดยยึดถือหลักการทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การสถาปนาอำนาจรัฐให้เข้มแข็ง และในขณะเดียวกันจะต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจในการดำเนินงาน
นี่เป็นเพียงแนวความคิดเล็ก ๆ ของฟันเฟืองเล็ก ๆ ตัวหนึ่งเท่านั้นเองครับ…..
ทฤษฎีดอกไม้หลากสี
ReplyDeleteพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานพรรคเพื่อไทย นำข้อเสนอเก่าเก็บเรื่องวิธีการดับไฟใต้ด้วยแนวทาง “นครปัตตานี” ขึ้นมาปัดฝุ่น ทำให้ “บิ๊กจิ๋ว” กลับมายึดพื้นที่สื่อได้อย่างต่อเนื่อง ทั้ง ๆ ที่เรื่อง “กัมพูชา-สมเด็จฮุนเซน” ยังไม่สร่างซาลงไป
“นครปัตตานี” ในความหมายของ พล.อ.ชวลิต ไม่เหมือนกับ “นครรัฐปัตตานี” ในอดีตหรือแนวทางที่ กลุ่มก่อการร้าย ต้องการให้เป็น แต่รูปแบบนครปัตตานีเป็นมิติของ การปกครองท้องถิ่น แนวคิดดังกล่าวเป็นบันไดขั้นที่ 3 ของ “ทฤษฎีดอกไม้หลากสี” ที่ พล.อ.ชวลิต เคยเสนอไว้ในช่วง รัฐบาลพรรคไทยรักไทย มีหัวใจสำคัญ คือ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยที่ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทาง ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
บันไดขั้นที่ 1 เริ่มด้วยการประชุมชี้แจงและรับฟังข้อคิดเห็นของผู้นำศาสนา เพื่อสร้างบรรยากาศปรองดอง ซึ่งสถานการณ์ความสงบในพื้นที่จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของขั้นตอนนี้
บันไดขั้นที่ 2 ให้ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีส่วนร่วมเสนอแนวทางหรือวิธีการยุติความรุนแรงแบบยั่งยืน รวมถึงแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาดำเนินการ 90 วัน และ
บันไดขั้นที่ 3 รัฐดำเนินการตามข้อเสนอของประชาชน ทั้งนี้ยังวาดฝันว่า 20 ปีข้างหน้า ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อาจใช้การปกครองแบบ “นคร” เช่นเดียวกับ เมืองพัทยา หรือ เทศบาลนครเชียงใหม่
ขอบคุณมากครับ สำหร้บข้อมูล ^^
ReplyDeleteอยากทราบว่ามาตรการในการให้ความร่วมมือของชุมชนในเมืองในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรทำอะไรบ้าง
ReplyDeleteแนวทางหรือนโยบายในการแก้ปัญหา ได้รับการตอบสนองหรือปฏิบัติจากทุกภาคส่วนหรือไม่ อันนี้น่าคิดนะ จนท.รัฐเองมีความตั้งใจและจริงใจที่จะแก้ปัญหาหรือไม่ นอกเหนือจากสิทธิต่างๆที่ได้รับ ผลประโยชนืในเรื่องนี้มันมากมายเหลือเกิน เม็ดเงินที่หว่านลงมาใช้ในการแก้ปัญหามันแทบจะสูญเปล่า บางคนมาเเพื่อให้ได้ พสร.คนที่ไม่มาแต่มีชื่อมา อันนี้ยิ่งดูทุเรศในสายตาพี่ แม้แต่คนที่มาจริงก็เถอะ บางส่วน อยู่ไปวันๆ แค่รอเวลาที่จะถึงผลัดพัก ครบหกเดือนก็ได้ พสร.แล้ว พี่ว่า สงบยาก สงครามมวลชนมันเป็นเรื่องของจิตใจนะ จะเปลี่ยนแปลงกันได้หรือกับสิ่งที่ถือปฏิบัติกันมายาวนาน
ReplyDelete