“ความได้เปรียบทางการเมืองของทหารต่อพลเรือนมีอยู่มาก ทหารมีองค์กรที่เหนือกว่า และทหารมีอาวุธ”
ท่ามกลางกระแสอันเชี่ยวกรากของการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทยจากอำนาจในมือ “อำมาตย์” ตลอดช่วงหลายปีมานี้ ได้สร้างความแตกแยกขึ้นในหมู่ประชาชนชาวไทยอย่างกว้างขวาง ที่สำคัญ กล่าวได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากเกิดการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสารของขั้วการเมืองของทั้งสองฝ่าย ทั้งจากฝ่าย นปช. อันมี “สามเกลอ” เป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน โดยมีอดีตนายกรัฐมนตรี “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” เป็น “Master Mind” และจากฝ่าย “อำมาตยาธิปไตย” ซึ่งมี “พรรคประชาธิปัตย์” เป็นหมากในกระดาน มี “กองทัพ” เป็นแบคอัพ และมีเงามืดดำทะมึนของ “ผู้มากไปด้วยบารมี” เป็น “Master Mind”
ในเกมส์แห่งอำนาจนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างสาดโคลนเข้าใส่กัน ทั้งด้วยข้อมูลทั้งที่เป็นจริงและเท็จ อย่างชนิดที่เรียกว่า “ไม่อาจคืนดีกันได้อีกแล้วในชาตินี้”
ในเกมส์แห่งอำนาจนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างสาดโคลนเข้าใส่กัน ทั้งด้วยข้อมูลทั้งที่เป็นจริงและเท็จ อย่างชนิดที่เรียกว่า “ไม่อาจคืนดีกันได้อีกแล้วในชาตินี้”
หากมองแต่เพียงผิวเผิน ประชาชนผู้เสพสื่ออาจรับทราบแต่เพียงข้อมูลที่ทั้งสองฝ่ายต่างงัดออกมาซัดใส่กัน และเชื่อว่าเป็นการต่อสู้ที่ดำเนินไปอย่างเป็นปกติธรรมชาติ ส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้ฉุกคิดเลยว่า ท่ามกลางการต่อสู้ด้านข้อมูลข่าวสารอย่างเผ็ดร้อนของนักการเมืองทั้งสองฝ่ายนั้น กลับมีการปฏิบัติการทางทหารแฝงเร้นอยู่อย่างเข้มข้น
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สภาวะบ้านเมืองในปัจจุบัน “กองทัพ” ได้กลับเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทยเป็นอย่างสูง ทั้งในเบื้องหน้า และเบื้องหลัง “ทหาร” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ครองอำนาจรัฐในการจัดการกับฝ่ายตรงข้าม
การปฏิบัติการทางทหาร (Military Operation) ที่ผมกำลังกล่าวถึง นั้น ก็คือ “การปฏิบัติการข่าวสาร” หรือ “Information Operation: IOs (ไอโอ)” นั่นเอง
การปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation: IOs) ในทางการทหารนั้น คือ การสนธิการปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อทำให้มีอิทธิพล ทำลาย ลดประสิทธิภาพ หรือชิงการตกลงใจของฝ่ายตรงข้าม (ซึ่งหมายความรวมถึงฝ่ายข้าศึกศัตรู ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง หรือแม้แต่กระทั่งประชาชนชาติเดียวกันที่มีแนวคิดทางการเมืองแตกต่างกันจากผู้ปกครอง ฯลฯ) ทั้งที่กระทำโดยมนุษย์ และระบบอัตโนมัติ รวมทั้งดำเนินการป้องกันการกระทำของฝ่ายตรงข้ามต่อฝ่ายผู้ปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน
หลักการ IOs ดังกล่าวนั้น มีการอธิบายถึงการปฏิบัติการด้านมวลชน (Public affairs) ที่เป็นการปฏิบัติการในการส่งข่าวสารสู่สื่อสารมวลชน การปฏิบัติการจิตวิทยา (Psychological operations) ที่เป็นการปฏิบัติการที่ฝ่ายผู้ปฏิบัติพยายามสร้างอิทธิพลผลในแง่ความคิดความเชื่อและการตกลงใจต่อฝ่ายตรงข้าม (หรือแม้แต่ประชาชน) ให้เป็นไปตามที่ผู้ปฏิบัติต้องการ การปฏิบัติการโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer network attack) เพื่อทำลายระบบเครือข่ายของฝ่ายตรงข้าม และการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติการ เพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการสารสนเทศ หรือการครองความเหนือกว่าในด้านข่าวสารข้อมูล (Information Superiority)
พูดให้ง่ายเข้า การปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation: IOs) เป็นการปฏิบัติการทางทหารโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการข้อมูลข่าวสารทั้งของฝ่ายตนเองและฝ่ายตรงข้ามให้เป็นเครื่องมือสร้างความได้เปรียบในการทำศึกสงคราม เพื่อต่อสู้เพื่อเอาชนะฝ่ายข้าศึกศัตรู นั่นเอง
สิ่งที่ปรากฎท่ามกลางสงครามสื่อก็คือ การปล่อยข่าวลับ แพร่ข่าวลวง การบิดเบือนข่าวสาร รวมทั้งการปิดกั้นการเผยแพร่ข่าวสารของฝ่ายตรงข้าม ไม่ให้โอกาสฝ่ายตรงข้ามได้เผยแพร่ข่าวสารของฝ่ายตน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ฝ่ายตนได้ประโยชน์จากปฏิบัติการข่าวสารนั้นมากที่สุด ทำให้สามารถควบคุมประชาชนผู้รับสารได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
อันที่จริง “การปฏิบัติการข่าวสาร (IOs)” แต่เพียงประการเดียวยังไม่สามารถที่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้าม หรือข้าศึกได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การปฏฺิบัติการข่าวสาร (IOs) จะต้องสนธิการปฏิบัติอย่างประสานสอดคล้อง (Synchronization) และผสมกลมกลืน เข้ากับการปฏิบัติการทางทหารอื่น ๆ เช่น การทำลายทางกายภาพ การโจมตี การเข้ายึดครองพื้นที่ (อำนาจการยิง การขอคืนพื้นที่ การกระชับวงล้อม ฯลฯ) การต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อ การรักษาความปลอดภัย การต่อต้านข่าวกรอง การต่อต้านการลวง การประชาสัมพันธ์ รวมถึงการการปฏิบัติการกิจการพลเรือน ฯลฯ เหล่านี้ หากปฏิบัติร่วมกับงานด้านยุทธการก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสแห่งความสําเร็จของภารกิจอย่างยิ่งยวด
หากสังเกตดี ๆ ตัวอย่างของการปฏิบัติการข่าวสาร (IOs) ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนล่าสุดในยุคปัจจุบัน ก็จะพบว่า ก่อนการล้อมปราบมวลชนคนเสื้อแดง กองทัพได้มีการปฏิบัติการข่าวสาร โดยการโหมโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ รวมทั้งสื่อยุคใหม่อย่างอินเตอร์เน็ต สร้างมวลชนคนเสื้อแดงให้กลายเป็นปิศาจร้ายที่น่าสะพรึงกลัวในสายตาประชาชนชาวไทย รวมทั้งในหมู่ทหารด้วยกันเองเสียก่อน จากนั้น เมื่อสถานการณ์สุกงอมได้ที่แล้ว มวลชนคนเสื้อแดงกลายเป็นปิศาจร้ายน่าเกลียดน่ากลัวที่ต้อง “กำจัด” จึงมี “การปฏิบัติการขอคืนพื้นที่” หรือ “การกระชับวงล้อม” หรือถ้อยคำสวยหรูอื่น ๆ ตามแต่จะประดิษฐ์ประดอยกันออกมา โดยมันสมองฝ่ายเสนาธิการของกองทัพที่ฉลาดปราดเปรื่อง ทำให้การฆ่าหมู่ (Massacre) “คนไทย” ด้วยกัน เป็นเรื่องที่ยอมรับได้มากที่สุด
หลายคนจึงเริ่มฉุกใจคิดกันบ้างแล้วว่า เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองหลายต่อหลาย เหตุการณ์ที่ผ่านมา เหตุใดคนกลุ่มใหญ่ถึงได้มีความเชื่ออย่างฝังหัวว่า คนเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย ประดุจปิศาจที่ต้องกำจัด นอกจากนี้ หลายคนเชื่อว่า การปฏิบัติการ “ขอคืนพื้นที่” หรือ “กระชับวงล้อม” ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นั้น เป็นการปฏิบัติการที่มีอารยะ การสูญเสีย “คนเสื้อแดง” ปิศาจร้ายน่าเกลียดน่ากลัวในจำนวนเรือนร้อยนั้น เป็นเรื่องที่ “ยอมรับได้” แต่นั่นเป็นเรื่องจริงที่ยอมรับได้ล่ะหรือ ? และเรารู้ได้อย่างไรทั้งที่เรามิได้สัมผัสหรือมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งที่เราเชื่อนั้นเลย ?
เพราะในอีกด้านหนึ่งที่ปิดมืดของเสรีภาพนี้ คือ กระบวนการสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จ บิดเบือนข้อมูลจริง ผสมผสานไปด้วยองค์ประกอบ ยุทธวิธี และเล่ห์เหลี่ยมแต้มคูมากมายทำให้ผู้เสพสื่อหลงเชื่อในเรื่องที่มิใช่ความจริง
ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ที่การสื่อสารคมนาคมสามารถส่งผ่านข้อมูลปริมาณมหาศาลทำได้อย่างรวดเร็วในพริบตา ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ เปิดกว้างกระจายตัวออกให้ใครก็ได้ มีโอกาสเข้าถึงและรับรู้นั้น กลับไม่ได้นำไปสู่ยุคทองของการเข้าใจปรากฏการณ์ทุกอย่างในโลกอย่างถูกต้องตามที่ทุกคนปรารถนา
นอกเหนือไปจากการที่ “การปฏิบัติการข่าวสาร(IOs)” เป็นเครื่องมือในการพยายามนำความจริงไปสู่ผู้คนยุคใหม่ ด้วยวิธีการที่น่าประทับใจ แปลกใหม่ และเร้าใจแล้ว นี่กลับเป็น ด้านมืดที่น่าสะพรึงกลัวอีกด้านหนึ่งของการปฏฺบัติการทางทหารที่เรียกกันว่า “การปฏิบัติการข่าวสาร” หรือ “ไอโอ (IOs)”
ถ้าหากตอบว่า เรารู้ได้ ผ่านกระบวนการความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลของตัวเอง วินิจฉัยข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏออกมาจากสื่อที่น่าเชื่อถือแล้วละก็ โปรดเผื่อใจไว้สักหน่อยเถิดว่า เราอาจหลงเชื่อในการปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations: IOs) อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการทางทหารที่ได้ออกแบบการปฏิบัติการไว้เพื่อเป็นเครื่องมือนำไปสู่การเอาชนะข้าศึกศัตรูในยามทำศึกสงครามนั่นเอง
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สภาวะบ้านเมืองในปัจจุบัน “กองทัพ” ได้กลับเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทยเป็นอย่างสูง ทั้งในเบื้องหน้า และเบื้องหลัง “ทหาร” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ครองอำนาจรัฐในการจัดการกับฝ่ายตรงข้าม
การปฏิบัติการทางทหาร (Military Operation) ที่ผมกำลังกล่าวถึง นั้น ก็คือ “การปฏิบัติการข่าวสาร” หรือ “Information Operation: IOs (ไอโอ)” นั่นเอง
การปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation: IOs) ในทางการทหารนั้น คือ การสนธิการปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อทำให้มีอิทธิพล ทำลาย ลดประสิทธิภาพ หรือชิงการตกลงใจของฝ่ายตรงข้าม (ซึ่งหมายความรวมถึงฝ่ายข้าศึกศัตรู ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง หรือแม้แต่กระทั่งประชาชนชาติเดียวกันที่มีแนวคิดทางการเมืองแตกต่างกันจากผู้ปกครอง ฯลฯ) ทั้งที่กระทำโดยมนุษย์ และระบบอัตโนมัติ รวมทั้งดำเนินการป้องกันการกระทำของฝ่ายตรงข้ามต่อฝ่ายผู้ปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน
หลักการ IOs ดังกล่าวนั้น มีการอธิบายถึงการปฏิบัติการด้านมวลชน (Public affairs) ที่เป็นการปฏิบัติการในการส่งข่าวสารสู่สื่อสารมวลชน การปฏิบัติการจิตวิทยา (Psychological operations) ที่เป็นการปฏิบัติการที่ฝ่ายผู้ปฏิบัติพยายามสร้างอิทธิพลผลในแง่ความคิดความเชื่อและการตกลงใจต่อฝ่ายตรงข้าม (หรือแม้แต่ประชาชน) ให้เป็นไปตามที่ผู้ปฏิบัติต้องการ การปฏิบัติการโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer network attack) เพื่อทำลายระบบเครือข่ายของฝ่ายตรงข้าม และการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติการ เพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการสารสนเทศ หรือการครองความเหนือกว่าในด้านข่าวสารข้อมูล (Information Superiority)
พูดให้ง่ายเข้า การปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation: IOs) เป็นการปฏิบัติการทางทหารโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการข้อมูลข่าวสารทั้งของฝ่ายตนเองและฝ่ายตรงข้ามให้เป็นเครื่องมือสร้างความได้เปรียบในการทำศึกสงคราม เพื่อต่อสู้เพื่อเอาชนะฝ่ายข้าศึกศัตรู นั่นเอง
สิ่งที่ปรากฎท่ามกลางสงครามสื่อก็คือ การปล่อยข่าวลับ แพร่ข่าวลวง การบิดเบือนข่าวสาร รวมทั้งการปิดกั้นการเผยแพร่ข่าวสารของฝ่ายตรงข้าม ไม่ให้โอกาสฝ่ายตรงข้ามได้เผยแพร่ข่าวสารของฝ่ายตน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ฝ่ายตนได้ประโยชน์จากปฏิบัติการข่าวสารนั้นมากที่สุด ทำให้สามารถควบคุมประชาชนผู้รับสารได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
อันที่จริง “การปฏิบัติการข่าวสาร (IOs)” แต่เพียงประการเดียวยังไม่สามารถที่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้าม หรือข้าศึกได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การปฏฺิบัติการข่าวสาร (IOs) จะต้องสนธิการปฏิบัติอย่างประสานสอดคล้อง (Synchronization) และผสมกลมกลืน เข้ากับการปฏิบัติการทางทหารอื่น ๆ เช่น การทำลายทางกายภาพ การโจมตี การเข้ายึดครองพื้นที่ (อำนาจการยิง การขอคืนพื้นที่ การกระชับวงล้อม ฯลฯ) การต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อ การรักษาความปลอดภัย การต่อต้านข่าวกรอง การต่อต้านการลวง การประชาสัมพันธ์ รวมถึงการการปฏิบัติการกิจการพลเรือน ฯลฯ เหล่านี้ หากปฏิบัติร่วมกับงานด้านยุทธการก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสแห่งความสําเร็จของภารกิจอย่างยิ่งยวด
หากสังเกตดี ๆ ตัวอย่างของการปฏิบัติการข่าวสาร (IOs) ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนล่าสุดในยุคปัจจุบัน ก็จะพบว่า ก่อนการล้อมปราบมวลชนคนเสื้อแดง กองทัพได้มีการปฏิบัติการข่าวสาร โดยการโหมโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ รวมทั้งสื่อยุคใหม่อย่างอินเตอร์เน็ต สร้างมวลชนคนเสื้อแดงให้กลายเป็นปิศาจร้ายที่น่าสะพรึงกลัวในสายตาประชาชนชาวไทย รวมทั้งในหมู่ทหารด้วยกันเองเสียก่อน จากนั้น เมื่อสถานการณ์สุกงอมได้ที่แล้ว มวลชนคนเสื้อแดงกลายเป็นปิศาจร้ายน่าเกลียดน่ากลัวที่ต้อง “กำจัด” จึงมี “การปฏิบัติการขอคืนพื้นที่” หรือ “การกระชับวงล้อม” หรือถ้อยคำสวยหรูอื่น ๆ ตามแต่จะประดิษฐ์ประดอยกันออกมา โดยมันสมองฝ่ายเสนาธิการของกองทัพที่ฉลาดปราดเปรื่อง ทำให้การฆ่าหมู่ (Massacre) “คนไทย” ด้วยกัน เป็นเรื่องที่ยอมรับได้มากที่สุด
หลายคนจึงเริ่มฉุกใจคิดกันบ้างแล้วว่า เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองหลายต่อหลาย เหตุการณ์ที่ผ่านมา เหตุใดคนกลุ่มใหญ่ถึงได้มีความเชื่ออย่างฝังหัวว่า คนเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย ประดุจปิศาจที่ต้องกำจัด นอกจากนี้ หลายคนเชื่อว่า การปฏิบัติการ “ขอคืนพื้นที่” หรือ “กระชับวงล้อม” ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นั้น เป็นการปฏิบัติการที่มีอารยะ การสูญเสีย “คนเสื้อแดง” ปิศาจร้ายน่าเกลียดน่ากลัวในจำนวนเรือนร้อยนั้น เป็นเรื่องที่ “ยอมรับได้” แต่นั่นเป็นเรื่องจริงที่ยอมรับได้ล่ะหรือ ? และเรารู้ได้อย่างไรทั้งที่เรามิได้สัมผัสหรือมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งที่เราเชื่อนั้นเลย ?
เพราะในอีกด้านหนึ่งที่ปิดมืดของเสรีภาพนี้ คือ กระบวนการสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จ บิดเบือนข้อมูลจริง ผสมผสานไปด้วยองค์ประกอบ ยุทธวิธี และเล่ห์เหลี่ยมแต้มคูมากมายทำให้ผู้เสพสื่อหลงเชื่อในเรื่องที่มิใช่ความจริง
ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ที่การสื่อสารคมนาคมสามารถส่งผ่านข้อมูลปริมาณมหาศาลทำได้อย่างรวดเร็วในพริบตา ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ เปิดกว้างกระจายตัวออกให้ใครก็ได้ มีโอกาสเข้าถึงและรับรู้นั้น กลับไม่ได้นำไปสู่ยุคทองของการเข้าใจปรากฏการณ์ทุกอย่างในโลกอย่างถูกต้องตามที่ทุกคนปรารถนา
นอกเหนือไปจากการที่ “การปฏิบัติการข่าวสาร(IOs)” เป็นเครื่องมือในการพยายามนำความจริงไปสู่ผู้คนยุคใหม่ ด้วยวิธีการที่น่าประทับใจ แปลกใหม่ และเร้าใจแล้ว นี่กลับเป็น ด้านมืดที่น่าสะพรึงกลัวอีกด้านหนึ่งของการปฏฺบัติการทางทหารที่เรียกกันว่า “การปฏิบัติการข่าวสาร” หรือ “ไอโอ (IOs)”
ถ้าหากตอบว่า เรารู้ได้ ผ่านกระบวนการความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลของตัวเอง วินิจฉัยข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏออกมาจากสื่อที่น่าเชื่อถือแล้วละก็ โปรดเผื่อใจไว้สักหน่อยเถิดว่า เราอาจหลงเชื่อในการปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations: IOs) อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการทางทหารที่ได้ออกแบบการปฏิบัติการไว้เพื่อเป็นเครื่องมือนำไปสู่การเอาชนะข้าศึกศัตรูในยามทำศึกสงครามนั่นเอง
คนนิยมเสื้อเหลืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเมืองมีการศึกษาซึ่งใช้ความเชื่อความศรัทธามากกว่าการใช้เหตุผลวิเคราะห์ แต่คนนิยมเสื้อแดงใช้เหตุผลและการเปรียบเทียบมากกว่าความเชื่อ ดังนั้นการไอโอจึงง่ายมากๆ
ReplyDeleteถึง คอมเม้นท์ที่ ๑...ผมงงมากครับกรุณาตอบหน่อย...ดังนี้
ReplyDelete๑.คนที่เป็นคนมีการศึกษา จะใช้ความเชื่อความศรัทธา..มากกว่าใช้เหตุผลวิเคราะห์ จริงหรือ...เอาอะไรมาเขียน งงมาก ถ้าอย่างนั้นไอ้ที่กราบไหว้ต้นกล้วยประหลาดๆ หรือ กราบไหว้อะไรก้อตามก่อนวันหวยออก...แสดงว่า...ใช้เหตุผลหรืออย่างไร..งงอะ..
๒.การใช้เหตุผลมาเปรียบเทียบมากกว่าความเชื่อของเสื้อแดงนั้น..มีไรบ้างอะบอกได้หรือไม่ ...
................................................
..ปล.
๑. ที่สำคัญ ตำรวจอย่างเราๆ ควรจะเริ่มทำ ไอโอ ได้แล้วนะ...ลอกเลียนแบบ ไอโอ รัฐบวมก้อยังดี...อิอิ
๒. งานเขียนในการนี้ขอชมครับ...จะเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน...แต่ควรมีแนวทางตาม ปล. ข้อ.๑ ให้ ตร.ด้วยจะดีมากมายและเป็นคุณแก่หน่วยงาน...
.................ขอบคุณ..........................
จริง ๆ แล้วการทำ IOs ของตำรวจก็มีนะครับ... เพียงแต่ตำรวจเราไม่ได้รู้จักกิจกรรมเหล่านั้นในฐานะ IOs ตัวอย่างเช่น งานชุมชนมวลชนสัมพันธ์ โครงการฝากเหล้าเอ๊ย..! บ้านไว้กับตำรวจ โครงการเพื่อนบ้านเตือนภัย รายการต่าง ๆ ของตำรวจทางสถานีวิทยุกระจายเสียง การออกพบปะเยี่ยมเยียนประชาชน โครงการตำรวจชุมชนประจำตำบล ฯลฯ บางยุคบางสมัยผู้บังคับบัญชาตำรวจเรามองเห็นความสำคัญบ้าง มองไม่เห็นบ้าง มีตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จงานด้าน Ios เช่น พล.ต.ท.พงศพัฒน์ พงษ์เจริญ หรือแม้แต่ แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เป็นต้น
ReplyDeleteพี่วิเคราะห์เรื่องเงินโบนัสที่รัฐบาลจะให้ข้าราชการเดือนตุลาคมนี้ให้ฟังหน่อยสิคะ
ReplyDeleteIO คืออะไร อ่านกี่ตำราก็ภาษาฝรั่ง แต่ดูจากที่ใช้กันมาตั้งแต่บรรพกาล ทั้งที่จะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ แต่สรุปให้ฟัง ง่ายๆ ว่า IO ---> คือทำยังไงก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึง ผิด ชอบ ชั่ว ดี บวก ลบ แต่เพื่อให้ได้เป้าที่มุ่งประสงค์
ReplyDeleteบางครั้ง IO อาจจะถูก IO อีกทีก็ได้ ในโลกของ IO ไม่มีใครรู้ได้ ว่าคุณเป็น cell ใหญ่ หรือเป็นแค่ cell หนึ่ง ที่ถูกใช้ทำงานอยู่
เลี่ยง IO นั้นยากแล้ว หากจะถูก IO น้อยที่สุด คือต้องหมั่งตั้งคำถาม เป็นคนขี้สงสัยไว้
เช่น
- ทำไมต้องสีเหลือง ทำไมต้องสีแดง
- ทำไมทหารต้องไปกับเหลือง ทำไมตำรวจต้องแดง
- ทำไมต้องสร้าง ไทยเฉย-ไทยเลว
- ทำไมต้องอ้างสถาบัน
- ทำไมต้องสลิ่ม ทำไมต้องควายแดง
- ทำไมต้องรากหญ้า ทำไมต้องชนชั้นกลาง
- ทำไมต้อง....
- ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม
ตอนนี้ประเทศไทย ชิบหายเพราะ IO
แต่สิ่งเดียวที่จะเอาความสงบ ความรัก
ความสามัคคี กลับสู่แผ่นดินไทยได้
ก็คือ IO
แต่ใครจะทำ????
This comment has been removed by the author.
ReplyDeleteเอ้ะหรืออ๋อ อะไรดีก่วา
ReplyDeleteสรุปแล้ว IO ก็คือการพัฒนาวิชา"มุสา" ยุคใหม่ให้มีประสิทธิภาพ และแนบเนียนมากขึ้นนั่นเอง
ReplyDelete"คนพูดโกหก ไม่ทำบาป เป็นไม่มี"
สรุปแล้ว IO ก็คือการพัฒนาวิชา"มุสา" ยุคใหม่ให้มีประสิทธิภาพ และแนบเนียนมากขึ้นนั่นเอง
ReplyDelete"คนพูดโกหก ไม่ทำบาป เป็นไม่มี"
อ่านมาตั้งนานที่แท้ก็....เอามาจากศรีธนญชัย นี่เองงงงงง
ReplyDeleteงั้นเราก็มาร่วมกันทำ u tern ios ซิครับ
ReplyDeleteแต่เป็น ios ที่มีแต่ข้อแท้จริง ไม่เอาเท็จจริงครับ
งั้นเราก็มาร่วมกันทำ u tern ios ซิครับ
ReplyDeleteแต่เป็น ios ที่มีแต่ข้อแท้จริง ไม่เอาเท็จจริงครับ
เห็นด้วยกับ Niti Namsuwan โกหกเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ
ReplyDeleteทางวัดเราทำ IOs ในเชิงความจริง ออกไปล่วงหน้าเลยครับ
ReplyDeleteได้บุญด้วย
ทางวัดเราทำ IOs ในเชิงความจริง ออกไปล่วงหน้าเลยครับ
ReplyDeleteได้บุญด้วย