Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Monday, August 17, 2020

เรื่องของ “ทิดด้วง” กับ “บังสัน” สองเกลอแก้วแห่งเมืองพัทลุง

 Love does not claim possession, but gives freedom.

- Rabindranath Tagore

เรื่องของ “ทิดด้วง” กับ “บังสัน” สองเกลอแก้ว

เมื่อราว ๆ ปีพุทธศักราช 2425 หรือประมาณ 140+ ปีล่วงมาแล้ว จังหวัดพัทลุง ยุคนั้นการคมนาคมยังไม่เจริญก้าวหน้า การสาธารณสุขยังไม่พัฒนามากนัก “ทิดด้วง” หรือ นายด้วง ณ ไพรี แห่งบ้านแพรกหา (ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองของ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง) กับ “บังสัน” หรือ นายสัน โส๊ะสมาคม หนุ่มมุสลิมแห่งบ้านหัวปาบ (ปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองของ ต.ห้วยลึก อ.ควนเนียง จ.สงขลา)  ทั้งสองหนุ่มต่างความเชื่อความศรัทธา เป็นเพื่อนเกลอกัน ประกอบอาชีพค้าขายวัวควายด้วยกัน 

ทิดด้วงแต่งงานแล้ว มีภรรยายังสาว สวย ผิวขาว มีเชื้อสายจีน ชื่อ “ดวง” เตี่ยของนางดวง เป็นชาวจีนอพยพมาจากเมืองจีนแผ่นดินใหญ่  ทิดด้วง กับนางดวง มีลูกด้วยกันยังเล็ก 2 คน ชื่อ “ด.ญ.เอียด ณไพรี” กับ “ด.ช.เลื่อน ณ ไพรี” ในขณะที่บังสันหนุ่มมุสลิม ยังโสด สองหนุ่มห้าวต้องเดินทางไกล รอนแรมไปเพื่อซื้อวัวควายในที่สถานที่ต่างถิ่นบ่อยครั้ง และเมื่อหาซื้อได้แล้วก็ไล่ต้อนฝูงวัวควายเหล่านั้นข้ามจังหวัดไปยังที่หมาย สองหนุ่มผ่านความทุกข์ยากลำบากมาด้วยกันจนกลายเป็นเพื่อนรักร่วมทุกข์ร่วมสุขปานประหนึ่งเพื่อนร่วมสาบาน 


จวบจนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่อทิดด้วงไม่สบายหนัก ทั้งตระหนักว่าโอกาสรอดชีวิตคงจะไม่มีแน่แล้ว จึงฝากข้อความญาติไปบอกให้บังสันเพื่อนรักเข้าไปพบครั้งสุดท้ายเพื่อสั่งเสียอะไรบางอย่าง  ต่อมาเมื่อได้อยู่ต่อหน้าเพื่อนรัก ทิดด้วงได้สั่งเสียบังสันก่อนที่ลมหายใจแห่งวาระสุดท้ายของชีวิตของตนจะมาถึงว่า “หากกูเป็นอะไรไป กูขอฝากลูกเมียไว้กับมึงด้วย” ถ้อยคำฝากฝังนี้เป็นที่รับรู้ทั่วไปในหมู่ญาติพี่น้องของทิดด้วงในครั้งนั้น 


“บังสัน” รับปาก “ทิดด้วง” เพื่อนรักอย่างมั่นเหมาะด้วยความเศร้า จากนั้นไม่นานเมื่อทิดด้วงจากไป ทิ้งให้ ด.ฯ.เอียด กับ ด.ข.เลื่อน ณไพรี ลูกกำพร้าไว้กับแม่ดวงม่ายสาวสู้ชีวิตกันสามแม่ลูกเพียงลำพัง


บังสัน รักษาคำพูด เมื่อตกปากรับคำกับเพื่อนรักก่อนตายไว้แล้วก็ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ  ได้หมั่นมาเยี่ยมเยียนสาวดวงม่ายสาว บ่อยครั้ง ต่อมาไม่นานก็เดินทางไปรับสาวดวง ม่ายสาวเพื่อไปเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม และจะพาไปอยู่ที่บ้านลำธาร์ ต.โคกสัก (ปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครอง ของ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง) แต่ได้รับการต่อต้านจากบรรดาลูกหลานและญาติพี่น้องของสาวดวงไม่ยอมให้ไปเป็นแขก  มีการยกกำลังล้อมกรอบ มีการยิงปืนข่มขู่ขึ้นฟ้า แต่บังสันก็ได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นถึงความรัก  ในที่สุดบรรดาญาติพี่น้องจึงอนุญาตให้สาวดวงไปเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม  และเดินทางไปอยู่กินกับบังสันที่บ้านลำธาร์ ในที่สุด


บังสันได้นิกะห์กับสาวดวง ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ได้อยู่กินกันกับสาวดวงจนมีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ตั้งชื่อ “ด.ญ.นะห์ โส๊ะสมาคม”


“ด.ญ.นะห์ โส๊ะสมาคม” จึงมีศักดิ์เป็นน้องสาวร่วมมารดา ต่างบิดาของ “ด.ญ.พุ่ม หรือเอียด และ ด.ช.เลื่อน ณไพรี”


น.ส.เอียด ณ ไพรี พี่สาว ได้แต่งงานกับนายเกลี้ยง คงศรีทอง มีลูก 6 คน ดังนี้


1. นายคล้าย คงศรีทอง (ต่อมาสมรสกับนางแจ่มฯ)

2. น.ส.จับ คงศรีทอง (ต่อมาสมรสกับนายกล่อม บุญญานุวัตร)

3. นายเนื่อง คงศรีทอง (ต่อมาสมรสกับนางเอื้อมฯ)

4. น.ส.เขียว คงศรีทอง (ต่อมาสมรสกับนายหมุน สุวรรณบันเทิง)

5. น.ส.ชิบ คงศรีทอง (ต่อมาสมรสกับ ส.ต.ท.ช่วง ปานนิล)

6. น.ส.ลับ หรือหลับ คงศรีทอง (ต่อมาสมรสกับนายผอม สงนุ้ย)


นายเลื่อน ณ ไพรี  เมื่อเป็นหนุ่มได้แต่งงานกับ น.ส.นุ่ม นมรักษ์ จนมีบุตรด้วยกัน 10 คน (ตายเสียแต่ยังเด็ก 1 คน) ดังนี้


1. น.ส.เผียน ณ ไพรี (ต่อมาสมรสกับนายคล้อย ชนะศิริ)

2. น.ส.พา ณ ไพรี (ต่อมาสมรสกับนายนุ่ม แดงศรี)

3. น.ส.เพียน ณ ไพรี (ต่อมาสมรสกับผญบ.เนื่อง ขุนทอง)

4. นายเคลื่อน ณ ไพรี ต่อมาสมรสกับนางเลี่ยนฯ 

5. น.ส.ลอย ณ ไพรี (ต่อมาสมรสกับนายเช้า นุ่นปาน)

6. นายคล้อย ณ ไพรี (ต่อมาสมรสครั้งแรกกับนางลบ ชุมทองมา และสมรสอีกครั้งกับนางเสาวณีฯ 

7. นายคลิ้ง ณ ไพรี ต่อมาสมรสกับนางละมัยฯ

8. ด.ช.พร้อม ณ ไพรี (เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก)

9. น.ส.พริ้ม ณ ไพรี (ต่อมาสมรสครั้งแรกกับนายดำ วรรณขาว และสมรสอีครั้งกับนายแฉล้ม ทองขาวเผือก

10. น.ส.เล็ก ณ ไพรี (ต่อมาสมรสกับนายเพือน ไชยโยธา)


ต่อมาในภายหลังนายเลื่อน ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน แห่งบ้านแพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 


ส่วน น.ส.นะห์ โส๊ะสมาคม น้องคนเล็ก แต่งงานครั้งแรกกับนายอับดุรรอฮีม หรือ “หีม” ราชกิจ (บุตรชายของนางหม๊ะ ยีหวังกอง บุตรสาวคนโตของหะยีอุมา บุตรโต๊ะชายนาย (ต้นตระกูล “ยีหวังกอง” 


(หมายเหตุ นางหม๊ะฯ เป็นพี่สาวคนโตของหะยีสัน ยีหวังกอง ปู่ทวดของผม)


นางหน๊ะฯ กับนายหีมฯ มีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “อารีฟีน” หรือ “ฝีน” ซึ่งเมื่อตอนยังเด็กใช้นามสกุล “ราชกิจ” ของพ่อ ต่อมาในภายหลังเมื่อนายอับดุรรอฮีม หรือ หีมฯ ไปได้ภรรยาใหม่ชื่อ “Hatiah” ที่บ้าน Tanjung Dawai, Kedah, Malaysia (มีบุตรด้วยกัน 7 คน ซึ่งบรรดาลูกหลานยังคงติดต่อกันอยู่ในปัจจุบัน) 


ต่อมา เมื่อพ่อแยกทางเด็ดขาดกับแม่ นางหน๊ะ ผู้เป็นแม่จึงให้ ด.ช.ฝีนฯ เปลี่ยนไปใช้นามสกุล “โส๊ะสมาคม” ของตา  (ภายหลัง ลูกหลานบางส่วนเปลี่ยนนามสกุลเป็น “สุขสมาคม” (ลูกหลานแกฝีนในปัจจุบันใช้นามสกุล “สุขสมาคม” แต่ยังมีบางคนใช้ “โส๊ะสมาคม” ตอนเด็กๆ วัยรุ่น แก่ฝีนยังเคยได้ไปเรียนหนังสือและใช้ชีวิตอยู่กับพ่อที่บ้าน Tanjung Dawai, Kedah, Malaysia) 


นายฝีน โส๊ะสมาคม สมรส 3 ครั้ง ดังนี้ 1.น.ส.หม๊ะ หมานระเด็น 2.น.ส.เส๊าะ หมัดอาดัม 3.น.ส.เหราะ เดล (เพอเณร)


นางหน๊ะ โส๊ะสมาคม แต่งงานครั้งที่สอง กับนายบ่าวอุง ไม่ทราบนามสกุล แห่งบ้านหัวปาบ  มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ 


1.สัน โส๊ะสมาคม (ตั้งชื่อเหมือนพ่อ-ไม่มีครอบครัว ตายเสียตั้งแต่ตอนยังเด็ก-วัยรุ่น)

2.หะเย๊าะ เปลี่ยนชื่อเป็น “สมจิตร” โส๊ะสมาคม  สมรสมีบุตรกับนายจิ คงหนู และสมรสอีก 2 ครั้งแต่ไม่มีบุตรกับ ส.ต.อ.เสมสุข เครืออุบล และนายเอื้อน (เจ๊ะเลาะ) สินธุสุวรรณ 


3.ม๊ะ โส๊ะสมาคม (ต่อมาสมรสกับนายโหด บิลหมาด) 


แต่ อนิจจา เมื่อประมาณปี พ.ศ.2475 ได้เกิดเหตุการณ์เศร้าสลดใจและไม่คาดฝันขึ้นเมื่อ “นายบ่าวอุงฯ” ถูกฆาตกรรม โดยนายหลุดไม่ทราบนามสกุล ฟันด้วยมีดดาบยาวจนถึงแก่ความตาย  (ไม่ทราบสาเหตุเรื่องที่พิพาท) เหตุเกิดขณะที่ ด.ญ.ม๊ะ บุตรสาวคนสุดท้องของนายบ่าวอุงฯ กับนางหน๊ะฯ มีอายุได้เพียงประมาณ 4-5 ปีเศษ


ความทรงจำของ ด.ญ.ม๊ะ โส๊ะสมาคม ที่มีต่อนายบ่าวอุงฯ บิดาผู้บังเกิดเกล้าจึงรางเลือน


หลังจากผิดหวังและพลัดพรากจากคนรักทั้งสองคน นางหน๊ะฯ ก้มหน้าก้มตาเลี้ยงลูกทั้ง 4 คนเพียงลำพัง ต่อมาอีกไม่นาน ท่านจากไปหลังจากสามีเสียชีวิตอีกไม่กี่ปี ตกเป็นภาระนางดวง ณ ไพรี โส๊ะสมาคม ผู้เป็นยาย เลี้ยงดูหลานทั้ง 4 คนจนเจริญเติบโต ท่านมีอายุยืนจนถึงเกือบ 100 ปี และถึงแก่กรรมไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2502 


ปัจจุบัน นางม๊ะ บินหมาด (นามสกุลเดิม “โส๊ะสมาคม”) อายุ 93 ปี ส่วนบรรดาพี่น้องคนอื่นๆ เสียชีวิตกันไปหมดแล้ว


ผลจากการที่แก่ดวง (ณ ไพรี) โส๊ะสมาคม มีอายุยืนยาวจึงทำให้บรรดาลูกหลานทั้งสองฟากฝั่งศาสนายังคงเดินทางไปมาหาสู่กัน ร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างไม่ขาดสายตลอดมา


****************************************************************

#หมายเหตุ:


1. #นางดวง_ณไพรี เป็นน้องสาวของทวดชม มารดาของขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราพุ่มเทวา) หรือนายพุ่ม ช่วยพูลเงิน ศิลปินแห่งชาติ  ผญบ.เลื่อน นางเอียด ณ ไพรี และ น.ส.หน๊ะ โส๊ะสมาคม มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับโนราพุ่มเทวา บรรดาลูกๆ ทั้งหมดของนางดวงฯ เรียก “โนราพุ่มเทวา” ว่า “ลุงพุ่ม”


2. #นางม๊ะ_โส๊ะสมาคม บุตรสาวคนสุดท้องของนางหน๊ะ โส๊ะสมาคม แต่งงานกับนายโหด บิลหมาด (นางม๊ะ กับนายโหด คือคุณตาคุณยายของผมเอง เป็นตาทวดยายทวดของน้องนวี)


3. ภาพถ่ายแรก เป็นเหลนของนางดวง ณไพรี (แม่ผมเอง) ภาพที่ 2 คนที่อุ้มเด็กคือนางหม๊ะ บินหมาด (โส๊ะสมาคม) คนขวาสุดเป็นคนเดียวกับรูปแรก ที่เหลือเป็นน้องชายน้องสาวของแม่ ส่วนเด็กที่นางหม๊ะฯ อุ้มในรูปคือผมเอง


#ดวงณไพรี


********************************************************************

#หมายเหตุ:

1. #นางดวง_ณไพรี เป็นน้องสาวของทวดชม มารดาของขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราพุ่มเทวา) หรือนายพุ่ม ช่วยพูลเงิน ศิลปินแห่งชาติ  ผญบ.เลื่อน นางเอียด ณ ไพรี และ น.ส.หน๊ะ โส๊ะสมาคม มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับโนราพุ่มเทวา บรรดาลูกๆ ทั้งหมดของนางดวงฯ เรียก “โนราพุ่มเทวา” ว่า “ลุงพุ่ม”


2. #นางม๊ะ_โส๊ะสมาคม บุตรสาวคนสุดท้องของนางหน๊ะ โส๊ะสมาคม แต่งงานกับนายโหด บิลหมาด (นางม๊ะ กับนายโหด คือคุณตาคุณยายของผมเอง เป็นตาทวดยายทวดของน้องนวี)


3. ภาพถ่ายแรก เป็นเหลนของนางดวง ณไพรี (แม่ผมเอง) ภาพที่ 2 คนที่อุ้มเด็กคือนางหม๊ะ บินหมาด (โส๊ะสมาคม) คนขวาสุดเป็นคนเดียวกับรูปแรก ที่เหลือเป็นน้องชายน้องสาวของแม่ ส่วนเด็กที่นางหม๊ะฯ อุ้มในรูปคือผมเอง


Sunday, July 19, 2020

ฮัจยีหวังอะหมัด หรือ “โต๊ะชายนาย” หรือ “โต๊ะหยังนาย” หรือ “โต๊ะหยังหมัด”

ฮัจยีหวังอะหมัด หรือ “โต๊ะชายนาย” หรือ “โต๊ะหยังนาย” หรือ “โต๊ะหยังหมัด” ท่านเป็นแม่ทัพนายกอง มลายูมุสลิมจากรัฐตรังกานู เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรสยามเมื่อประมาณกว่า 200 ปีมาแล้ว ลูกหลานอันเกิดจากภรรยาคนที่ 1 (ชื่อภรรยาไม่ปรากฏนาม) จำนวน 7 คนมีดังนี้

1. หะยีสาเหม๊าะ หรือสะเหมาะ อยู่บ้านเกาะทาก ต.นาหว้า อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นต้นตระกูลหลายตระกูลในพื้นที่บ้านเกาะทาก

2. ปะวะแหละ ต้นตระกูล “เจ๊ะอาหวัง”

3. หะยีอุมา เป็นต้นตระกูล “ยีหวังกอง” และ “หมัดอะหวัง”  ส่วน “หะยีฝีน โส๊ะสมาคม” หรือ “แกฝีน” ของพวกเรา เป็นหลานยายของลูกสาวคนโต (ลูกเมีย1) ของหะยีอุมา ชื่อ “หม๊ะ” โดยบรรดาลูกๆ ของหะยีอุมา (เมีย1) มีดังต่อไป

    3.1 นางหม๊ะ มีลูกๆ ดังนี้  1.กุบ (หัวปาบ) 2. ฉาวเหรียม (หัวปาบ) 3.อะหมัด (Ahmad) ต้นตระกูลอะหมัด (ป่ะของโต๊ะครูแอ (ครูอิสมาอีล อะหมัด) ผู้ก่อตั้ง ร.ร.ศาสนูปถัมภ์ปากพะยูน มูลนิธิ  4.โต๊ะหยังอับดุรรอฮีม (AbdulRahim) ป่ะของแกฝีน 5. หมาน (Kedah-ไทรบุรี)

    3.2 หะยีสัน ลูกหลานใช้นามสกุล “ยีหวังกอง” ท่านเป็นตา+ปู่ ของ ส.ส.นริศ ขำนุรักษ์, ผู้ใหญ่โสน ยีหวังกอง, ด.ต.การุณ ยีหวังกอง

    3.3 หะยีเส็น ลูกหลานใช้นามสกุล “ยีหวังกอง” และ “หมัดอะหวัง”

    3.4 นางกาตียะห์ มีชื่อบรรดาลูกๆ แต่ไม่ได้บันทึกนามสกุลไว้

    3.5 นางหวา ไม่มีข้อมูล

4. โต๊ะขุนฤทธิ์ ต้นตระกูล “ขุนฤทธิ์” และ “ฤทธิ์โต”

5. หวันยีเต๊ะ ต้นตระกูล “หวันยีเตะ” หรือ “หวันยีเต๊ะ”

6. โต๊ะจูยำ (ผู้หญิง) ลูกหลานใช้นามสกุล “ปูตีล่า” หรือ “โปติล่ะ”

7. โต๊ะเหล็บยาว ลูกหลานใช้นามสกุล “ปูตีล่า” หรือ “โปติล่ะ”

*****หมายเหตุ: อ้างอิงจากบันทึกของ “หะยีหรูน ยีหวังกอง” แห่งบ้านม่วงทวนซึ่งได้รวบรวมขึ้นจากความทรงจำและคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ได้จัดทำขึ้นไว้เมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว (ส่วนตัวอักษรภาษาอังกฤษผมพึ่งทำขึ้นไว้เพื่อญาติที่พี่น้องฝั่งมาเลเซียจะได้เข้าใจ)

Sunday, June 30, 2019

ฮัจยีหวังอาหมัด “โต๊ะชายนาย, โต๊ะหยังนาย”



สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 (อังกฤษ: Anglo-Siamese Treaty of 1909) หรือ สนธิสัญญาบางกอก (อังกฤษ: Bangkok Treaty of 1909) เป็นสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษและสยาม ซึ่งได้มีการลงนามสนธิสัญญาฉบับนี้ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2452 และรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 สนธิสัญญาฉบับนี้มีมีสาระสำคัญข้อหนึ่ง คือ

สยามยกสิทธิการปกครองและบังคับบัญชาเหนือไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และเปอลิสรวมทั้งเกาะใกล้เคียงให้แก่อังกฤษ

วันนี้ (10 มีนาคม 2562) เป็นวันครบรอบ 110 ปีของสนธิสัญญาฉบับนี้

ย้อนหลังกลับไปก่อนหน้าสนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452  ประมาณ 100 ปี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ 2 "ฮัจญีหวังอาหมัด" ชาวมลายูมุสลิมรัฐตรังกานู เมื่อครั้งที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม (ปัจจุบันเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย) ได้อพยพโยกย้ายพลัดถิ่นจากบ้านเกิดเมืองนอน

"ฮัจญีหวังอาหมัด" มีชื่อฉายาว่า “โต๊ะหยังนาย” หรือ “โต๊ะชายนาย" อันเนื่องมาจากการที่ท่านเป็นนายกองทหารหัวเมืองมลายู รัฐตรังกานู ท่านนำกำลังทหารในปกครองมาสมทบช่วยเมืองสงขลาทำสงครามต่อสู้กับหัวเมืองประเทศราชที่แข็งข้อ หลังเสร็จศึกสงครามไม่กลับภูมิลำเนา ท่านตัดสินใจไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ที่บ้านดอนทิง ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณที่ราบลุ่มทะเลสาบสงขลา ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ ต.ปากรอ อ.สิงหนคร จ.สงขลา  ท่านมีภรรยา 4 คน มีลูกหลานสืบทอดต่อเนื่องกันมาหลายสายตระกูล

ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์ในบทเรียนพยายามสอนและปลูกฝังให้เราเป็นคนไทย แต่เราก็ไม่ควรลืมรากเหง้าของตัวเอง ผมภูมิใจที่มีสายเลือดมลายูและเป็นคนไทยมีสัญชาติไทยอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินนี้...

บรรพบุรุษของผมศพถูกฝังอยู่ที่นี่เกือบสองร้อยปีแล้วครับ

The British-Siam Treaty of 1909 (Anglo-Siamese Treaty of 1909) or the Bangkok Treaty of 1909 is a treaty between The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland and The Kingdom of Siam which has signed in Bangkok on March 10, 1909 and the Parliament of The United Kingdom ratified on  July 9, 1909. This treaty has some important issue:

Siam conferd the administrative rights and sovereignty over the Kedah, Kelantan, Terengganu and Perlis as well as neighboring islands to The United Kingdom.

Today is the 110th anniversary of the treaty.

Go backwards before the British-Siam Treaty, 1909, about 100 years earlier, in the reign of King Rama II, "Haji Wang Ahmad", a Malay Muslim from Terengganu State while it was still being part of the Kingdom of Siam (Currently a state of Malaysia) has migrated to exile from his homeland.

"Haji Wang Ahmad" has the nickname " "Datuk Chai Nai" or "Datuk Yang Nai" due to the fact that he was a military officer in Terengganu State. He led a military force to join Songkhla to make war against the militants cities. After the war ended, he didn't return to his homeland. He decided to settle down at a small village in the area of ​​Songkhla lake basin. At present this village is in the area of ​​Pak Ro Subdistrict, Singha Nakhon District, Songkhla Province, he has 4 wives which were the ancestors of many descendants.

Although the history of the lesson tries to teach and cultivate us to be Thai. But we should not forget the roots of ourselves I am proud of to have a Malay lineage and a Thai nationality under the Chakri dynasty on this land...

My ancestors have been buried here for almost 200 years...

RevolverMap