สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 (อังกฤษ: Anglo-Siamese Treaty of 1909) หรือ สนธิสัญญาบางกอก (อังกฤษ: Bangkok Treaty of 1909) เป็นสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษและสยาม ซึ่งได้มีการลงนามสนธิสัญญาฉบับนี้ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2452 และรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 สนธิสัญญาฉบับนี้มีมีสาระสำคัญข้อหนึ่ง คือ
สยามยกสิทธิการปกครองและบังคับบัญชาเหนือไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และเปอลิสรวมทั้งเกาะใกล้เคียงให้แก่อังกฤษ
วันนี้ (10 มีนาคม 2562) เป็นวันครบรอบ 110 ปีของสนธิสัญญาฉบับนี้
ย้อนหลังกลับไปก่อนหน้าสนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 ประมาณ 100 ปี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ 2 "ฮัจญีหวังอาหมัด" ชาวมลายูมุสลิมรัฐตรังกานู เมื่อครั้งที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม (ปัจจุบันเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย) ได้อพยพโยกย้ายพลัดถิ่นจากบ้านเกิดเมืองนอน
"ฮัจญีหวังอาหมัด" มีชื่อฉายาว่า “โต๊ะหยังนาย” หรือ “โต๊ะชายนาย" อันเนื่องมาจากการที่ท่านเป็นนายกองทหารหัวเมืองมลายู รัฐตรังกานู ท่านนำกำลังทหารในปกครองมาสมทบช่วยเมืองสงขลาทำสงครามต่อสู้กับหัวเมืองประเทศราชที่แข็งข้อ หลังเสร็จศึกสงครามไม่กลับภูมิลำเนา ท่านตัดสินใจไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ที่บ้านดอนทิง ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณที่ราบลุ่มทะเลสาบสงขลา ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ ต.ปากรอ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ท่านมีภรรยา 4 คน มีลูกหลานสืบทอดต่อเนื่องกันมาหลายสายตระกูล
ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์ในบทเรียนพยายามสอนและปลูกฝังให้เราเป็นคนไทย แต่เราก็ไม่ควรลืมรากเหง้าของตัวเอง ผมภูมิใจที่มีสายเลือดมลายูและเป็นคนไทยมีสัญชาติไทยอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินนี้...
บรรพบุรุษของผมศพถูกฝังอยู่ที่นี่เกือบสองร้อยปีแล้วครับ
The British-Siam Treaty of 1909 (Anglo-Siamese Treaty of 1909) or the Bangkok Treaty of 1909 is a treaty between The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland and The Kingdom of Siam which has signed in Bangkok on March 10, 1909 and the Parliament of The United Kingdom ratified on July 9, 1909. This treaty has some important issue:
Siam conferd the administrative rights and sovereignty over the Kedah, Kelantan, Terengganu and Perlis as well as neighboring islands to The United Kingdom.
Today is the 110th anniversary of the treaty.
Go backwards before the British-Siam Treaty, 1909, about 100 years earlier, in the reign of King Rama II, "Haji Wang Ahmad", a Malay Muslim from Terengganu State while it was still being part of the Kingdom of Siam (Currently a state of Malaysia) has migrated to exile from his homeland.
"Haji Wang Ahmad" has the nickname " "Datuk Chai Nai" or "Datuk Yang Nai" due to the fact that he was a military officer in Terengganu State. He led a military force to join Songkhla to make war against the militants cities. After the war ended, he didn't return to his homeland. He decided to settle down at a small village in the area of Songkhla lake basin. At present this village is in the area of Pak Ro Subdistrict, Singha Nakhon District, Songkhla Province, he has 4 wives which were the ancestors of many descendants.
Although the history of the lesson tries to teach and cultivate us to be Thai. But we should not forget the roots of ourselves I am proud of to have a Malay lineage and a Thai nationality under the Chakri dynasty on this land...
My ancestors have been buried here for almost 200 years...
No comments:
Post a Comment