ตลอดระยะเวลาแห่งความวุ่นวายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนไทยเราคงคุ้นเคยกับคำว่า “การก่อความไม่สงบ” มาพอสมควร เนื่องจากรัฐบาลได้ให้คำนิยามต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ว่า “การก่อความไม่สงบ” และกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสื่อมวลชนใช้คำว่า “ผู้ก่อความไม่สงบ” แทนผู้ก่อเหตุรุนแรงดังกล่าว
คนไทยส่วนใหญ่คงจะคุ้นชินกับคำดังกล่าวอยู่ต่อไป หากไม่มีคำอื่นมาเปรียบเทียบ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมาเกิดความรุนแรงจากการปะทะกันระหว่างมวลชนคนเสื้อแดงกับกองทหาร เมื่อกองทหาร “บูรพาพยัคฆ์” ใช้อาวุธปืนซึ่งบรรจุกระสุนจริงเข้าปราบปราบมวลชนคนเสื้อแดง แล้วถูกกองกำลังติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายใช้อาวุธปืน/เครื่องยิงลูกระเบิดแบบ M79 ยิงถล่มคุ้มกันจนมีทหารใหญ่บาดเจ็บล้มตาย เป็นเหตุให้กองทหารบูรพาพยัคฆ์แตกพ่ายไป ซึ่งต่อมาเพียงชั่วข้ามคืน รัฐบาลอภิสิทธิ์ฯ ได้นิยามการกระทำของกองกำลังติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายดังกล่าวว่าเป็น “การก่อการร้าย” และเรียกกองกำลังนั้นว่า “ผู้ก่อการร้าย” ??
หลายต่อหลายคนจึงงุนงง และสงสัยกับการให้คำนิยามต่อเหตุการณ์ความรุนแรงทั้ง 2 รูปแบบดังกล่าว ว่า “เหมือน” หรือ “แตกต่างกัน” อย่างไร..? ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ทั้ง 2 รูปแบบนั้นเกิดความสูญเสียในลักษณะเดียวกัน และการขีดเส้นแบ่งประเภทก็ทำได้ยากยิ่งเหลือเกิน….
โอกาสต่อไปเรามาคุยกันครับ…
No comments:
Post a Comment