ที่มา: ประกาศ ลวงโลก จาก บันทึก เอ็มโอยู 2544 ถึง ′มรดกโลก′
เรื่องของบันทึกความตกลงร่วมกันไทย-กัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ ทับซ้อนทางทะเล หรือเอ็มโอยู 2544 ก็อีหรอบเดียวกันกับคำประกาศถอนตัวจากภาคีอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลกนั่นแหละ
คือ เสมอเป็นเพียงการประกาศ
เอ็มโอยู 2544 เป็นการประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 เรื่องภาคีอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลก เป็นการประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2554
แต่แล้วก็เสมือนกับเป็นเรื่องลวงโลก ลวงประชาชน
คำประกาศถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลกอันมาจาก นายสุวิทย์ คุณกิตติ และได้รับความเห็นชอบโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ได้รับการพิพากษาไปแล้วโดยประชาชน
นั่นก็คือ พรรคกิจสังคมไม่ได้รับเลือกแม้แต่คนเดียว กระทั่ง นายสุวิทย์ คุณกิตติ ต้องสอบตก
นั่นก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ ต้องพ่ายแพ้ให้แก่พรรคเพื่อไทยอย่างยับเยิน
ความ ว่าด้วยคำประกาศถอนตัวจากภาคีอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลกยังไม่จบ กรณีของเอ็มโอยู 2544 ก็ปรากฏขึ้นว่ากำลังกลายเป็นคำประกาศในลักษณะลวงโลกอีกเรื่องหนึ่ง
เป็นการลวงโลกจากรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ถามว่ารายละเอียดอย่างไรหรืออันถือได้ว่า การประกาศยกเลิกเอ็มโอยู 2544 การประกาศถอนตัวจากภาคีมรดกโลกเป็นเรื่องลวงโลก
คำตอบ 1 ก็คือ เสมือนเป็นเพียงการประกาศแต่มิได้มีการปฏิบัติอย่างเป็นจริง
คำ ประกาศยกเลิกเอ็มโอยู 2544 เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2552 แต่ต่อมากลับปรากฏว่าได้มีการเจรจาระหว่าง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับ นายซก อาน ในเรื่องอันเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2553
แสดงว่า บทบาทและความหมายของเอ็มโอยู 2544 ยังดำรงอยู่
ที่ ยังดำรงอยู่เพราะว่าบันทึกความเข้าใจร่วมกันหรือเอ็มโอยูนั้นในทางกฎหมาย เมื่อมีมติออกมาแล้วต้องเสนอผ่านความเห็นชอบผ่านรัฐสภา จึงจะครบถ้วนสมบูรณ์
เช่น เดียวกับการเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลก เมื่อแสดงท่าทีในที่ประชุมอย่างเป็นที่แจ้งชัดแล้ว ภาคีสมาชิกจักต้องทำหนังสือยืนยันไปทางองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ คำประกาศลาออกนั้นจึงจะมีผลอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์
จากเดือนพฤศจิกายน 2552 หลังการประกาศ รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เคยมีปฏิบัติการอะไรเลยต่อเอ็มโอยู 2544
นี่ก็เช่นเดียวกับการทำหนังสือแจ้งต่อภาคีอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลก
เมื่อ ทั้งเรื่องเอ็มโอยู 2544 และทั้งเรื่องภาคีอนุสัญญามรดกโลกมิได้มีผลเหมือนเช่นกับคำประกาศ แล้วรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำไปทำไม
คำตอบที่เด่นชัดยิ่ง คือ ต้องการผลทางการเมือง
นั่นก็คือ อาศัยเอ็มโอยู 2544 มาเป็นเครื่องมือในการโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้เสียหายในทางสังคม ในทางการเมือง
เลเพลาดพาดจากเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเลอะเทอะจนถึงทำให้เสียดินแดน
นี่ก็ทำนองเดียวกับการออกข่าวว่าด้วยหมายจับแดง เรด โนติซ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในองค์การตำรวจสากล อินเตอร์โพล
ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยในทางเป็นจริง
นั่น ก็คือ อาศัยคำประกาศถอนตัวจากภาคีอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลกเพื่อประท้วงต่อคณะ กรรมการมรดกโลก ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชน เพื่อหวังจะได้คะแนนจากพวกหลงชาติจำนวนหนึ่ง
เป็นการเล่นเกมทางการเมือง เป็นการหลอกลวงทางการเมืองเพื่อประโยชน์เฉพาะหน้า
เป็น การอาศัยเกมทางการเมืองจากความขัดแย้งภายในประเทศขยายไปสู่การเมืองระหว่าง ประเทศ คิดแต่เพียงประโยชน์เฉพาะหน้าโดยไม่คำนึงถึงผลสะเทือนที่จะติดตามมา
เป็นการเล่นเกมสไตล์พรรคประชาธิปัตย์
ท่านอาจโกหกประชาชนได้ครั้งหนึ่ง แต่มิอาจโกหกได้ตลอด อับราฮัม ลินคอล์น สรุปได้ถูกต้อง
กระนั้น นักการเมืองบางคนก็โกหกซ้ำซาก จากหมายจับแดง ไปยังเอ็มโอยู 2544 ไปยังการถอนตัวจากภาคีอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลก
น่าสงสัยว่า ยังมีเรื่องอื่นอีกหรือไม่ที่ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ โกหกประชาชน
As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม
โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา
ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...
Tuesday, September 6, 2011
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Labels/หมวดหมู่
7 days in Australia
(7)
Australia Trip
(7)
India Trip
(28)
Information Operation
(2)
Introduction to Islam
(3)
Lifestyle
(1)
การก่อการร้าย
(9)
การโดดร่มดิ่งพสุธา
(1)
การบริหารงานตำรวจ
(5)
การฝึก/ยุทธวิธีตำรวจ
(2)
การฝึกอบรม
(8)
ข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบ
(8)
งานชุมชนมวลชนสัมพันธ์
(15)
ท่วงทำนองแห่งชีวิต
(4)
นิติวิทยาศาสตร์
(2)
ปัจจัยแวดล้อมในประเทศ
(29)
ปัจจัยแวดล้อมระหว่างประเทศ
(28)
ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
(31)
ปัญหายาเสพติด
(8)
ภารกิจถวายความปลอดภัย
(1)
ภาษาอังกฤษกับเพลง
(1)
วิสามัญฆาตกรรม
(1)
สถานการณ์การเมืองไทย
(3)
สิทธิมนุษยชน
(2)
องค์กรก่อการร้าย
(2)
องค์กรตำรวจต่างประเทศ
(3)
อาชญากรรมข้ามชาติ
(6)
No comments:
Post a Comment