#แผ่นดินไหวกับ “#กำทอน” – #เมื่อจังหวะที่พอดีอาจทำลายล้างทุกอย่าง
แผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568
กลายเป็นข่าวใหญ่ทันที เมื่ออาคารสูงที่กำลังก่อสร้างถล่มลงมาทั้งตึก
ภาพควัน ฝุ่น และซากโครงสร้าง ทำให้หลายคนตกใจ และคำถามก็ตามมาไม่หยุด
“โกงหรือเปล่า?”
“ก่อสร้างผิดแบบไหม?”
“วัสดุไม่ดีหรือยังไง?”
แน่นอนว่าทุกข้อสงสัยต้องตรวจสอบให้ถึงที่สุด
แต่ในฐานะอดีตเด็กสายวิทย์ที่เคยเรียนทั้งที่อิสลามวิทยาลัยและโรงเรียนเตรียมทหาร
ถึงแม้จะหลับๆ ตื่นๆ ในห้องเรียนบ้าง แต่ผมอดนึกถึงบทเรียนในวิชาฟิสิกส์ เรื่อง “กำทอน” (Resonance) หรือ “ลั่นพ้อง” ไม่ได้
“กำทอน” คือปรากฏการณ์ที่วัตถุเกิดการสั่นรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อได้รับแรงกระตุ้นในจังหวะที่ “ตรงกับความถี่ธรรมชาติ” ของมันพอดี
คล้ายการดันชิงช้าให้ถูกจังหวะ—มันจะไต่สูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้แรงแค่นิดเดียว
อาคารก็มีความถี่ของตัวมันเอง
ถ้าแผ่นดินไหวสั่นในจังหวะที่ “เข้าพอดี”
แม้อาคารจะสร้างได้ตามมาตรฐาน ก็อาจสั่นแรงเกินรับไหว และถล่มลงมาได้จริง ๆ
ดังนั้น บางครั้งการพังทลายอาจไม่ใช่เพราะโกง
แต่อาจเป็นเพราะธรรมชาติ… จังหวะพอดีเกินไปต่างหาก
หวังว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ใช่แค่บทเรียนเรื่อง “ความผิดพลาด” แต่เป็นบทเรียนเรื่อง “ความเข้าใจ” ที่เราจะใช้เตรียมรับมือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
No comments:
Post a Comment