Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Friday, February 12, 2010

การสืบสวนคดีอาญาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องและอย่างยาวนานนับร้อย ๆ ปี ความรุนแรงได้ปะทุขึ้นมาเป็นระลอก ๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสริมในแต่ละยุคสมัย  ความรุนแรงระลอกใหม่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 7 – 8 ปี ยังไม่มีทีท่าว่าจะIMG_8884สงบลง   สภาพความเป็นอยู่วิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ มีสภาพเหมือนแดนสนธยาเข้าไปทุกที ยากที่คนนอกจะจินตนาการได้ว่า พวกเขาอยู่กันอย่างไร ยังมีความหวังเหลืออยู่หรือไม่ ในขณะที่รัฐบาลได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งเงินและกำลังคนลงไปเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการทำงานของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำหน้าที่สืบสวนติดตามคดีอาญาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทำงานกันอย่างไร ?

การสืบสวนสอบสวนคดีอาญาหลังเกิดเหตุซึ่งเป็นหนึ่งในงานหลักของตำรวจนั้น โดยทั่วไปการทำงานก็มีลักษณะคล้าย ๆ กับงานของนักวิจัย คือ อาศัยธรรมชาติของเหตุและผลเพื่อตอบคำถามของเหตุการณ์หรือคดีที่เกิดขึ้น ในคดีอาญา มูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุก็มักจะสัมพันธ์กับเหตุที่เกิด ตัวอย่าง ในคดีฆาตกรรม มักมีสาเหตุ หรือแรงจูงใจจากความโกรธแค้นที่มีต่อกัน (ยกเว้นบางกรณี เช่นฆาตกรโรคจิต หรือก่อเหตุจากความมึนเมา) เช่น นายแดง โกรธแค้นนายดำที่ถูกนายดำโกง จึงลงมือฆ่านายดำตาย การสืบสวน นักสืบจะศึกษาลงไปถึงปูมหลังของนายดำ ว่ามีความสัมพันธ์กับใครบ้าง มีสาเหตุโกรธเคืองกับใคร หรือมีสาเหตุอื่นที่พอจะเป็นเหตุจูงใจให้มาฆ่านายดำ  นักสืบจะเริ่มต้นสืบสวนจากสถานที่เกิดเหตุ คนใกล้ตัว คนรู้จัก เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือคู่อริ เป็นต้น ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับผู้ต้องสงสัย เชื่อมโยงกับพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จากสถานที่เกิดเหตุ  อันจะนำไปสู่การจับกุมตัวผู้กระทำผิดต่อไป
แต่การสืบสวนคดีคดีฆาตกรรมจากการก่อเหตุความไม่สงบนั้น แตกต่างจากการสืบสวนคดีฆาตกรรมในพื้นที่อื่น กล่าวคือ  แทบจะไม่สามารถนำหลักการดังกล่าวมาใช้ได้ เนื่องจากผู้ก่อเหตุซึ่งเป็นสมาชิก “ขบวนการ” กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบซึ่งไม่ได้มีสาเหตุโกรธเคืองใด ๆ กับผู้ตายมาก่อนเลย  ส่วนใหญ่ผู้ก่อเหตุไม่ได้รู้จักกับเหยื่อมาก่อนด้วยซ้ำไป  สาเหตุที่ฆ่า ก็เพียงเพื่อก่อเหตุสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น “กับใคร” “ที่ใด” “เมื่อใด” ก็ได้ เพียงเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของ “องค์กร” ที่ต้องการสร้างความรุนแรงให้เกิดขึ้น เมื่อมีเหตุฆาตกรรมเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าตรวจสถานที่เกิดเหตุ เก็บรวบรวมพยานหลักฐานหรือร่องรอยของคนร้ายที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ นำส่งไปตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ตัวบุคคลผู้กระทำผิด เก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูล ส่วนการสอบสวนปากคำญาติผุู้ตายหรือคนรู้จักเพื่อสืบสวนถึงมูลเหตุจูงใจของคนร้าย กลับไม่สามารถสาวไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับคนร้ายได้ ประการที่สำคัญก็คือ แทบจะไม่มีใครกล้ามาเป็นพยานในคดีที่เกิดขึ้นใด้เลย ถ้าผู้ตายไม่ได้เป็นญาติหรือเกี่ยวข้องกันทางสายเลือดโดยตรง

3 comments:

  1. เครียดแทน แต่ก็ขอให้ทำงานด้วยความปลอดภัยค่ะ สู้ๆๆๆ นะคะ (@^_^@)

    ReplyDelete
  2. เพิ่งรู้ว่าทำ Blog ที่มีคุณค่าแบบนี้ด้วย


    พี่ศิริพล

    ReplyDelete
  3. เพิ่งรู้ว่าทำ Blog ที่มีคุณค่าแบบนี้ด้วย


    พี่ศิริพล

    ReplyDelete

RevolverMap