เมื่อครั้งที่ผมยังเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 3-4 เมื่อถึงฤดูกาลการถือศีลอด ในเดือนรอมฎอน มีนายตำรวจปกครองท่านหนึ่ง ท่านมีความเมตตากรุณากับนักเรียนนายร้อยตำรวจมุสลิมอย่างยิ่ง (พื้นฐานท่านก่อนย้ายเข้าไปรับราชการในโรงเรียนนายร้อยตำรวจท่านเคยรับราชการในพื้นที่จังหวัดยะลา มาก่อน) ท่านถามผมว่า “เข้าเดือนรอมฎอนแล้ว เอ็งปอซอหรือเปล่า” ผมฟังแล้วรู้สึกงงเพราะไม่รู้จักคำว่า “ปอซอ” ในเวลาต่อมา จึงเข้าใจว่าท่านหมายถึง “การถือศีลอด”
คำว่า “ปอซอ” (ภาษามลายูท้องถิ่น) หรือ “ปูวาซา” (Puasa) (ภาษามลายูกลาง ) หมายถึง การถือศีลอดในศาสนาอิสลาม คำดังกล่าว มีรากศัพท์มาจาก ภาษาสันสกฤต และได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียก่อนที่จะกลายเป็นคำในภาษามลายู
ที่มาของคำว่า “ปูวาซา”
• คำว่า “Puasa” ในภาษามลายูและอินโดนีเซีย หมายถึง การอดอาหารหรือการถือศีลอด
• คำนี้มาจาก ภาษาสันสกฤต “Upavāsa” (उपवास) ซึ่งหมายถึง “การอยู่ใกล้ (upā) และการอุทิศตน (vāsa)” โดยใช้ในบริบทของการบำเพ็ญตบะหรือถือศีลอดทางศาสนา
• ในอดีต ศาสนาพุทธและฮินดูมีแนวปฏิบัติการถือศีลอดแบบ “อุปวาสะ” เช่นกัน ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อคำนี้ในหมู่ชาวมลายูก่อนการมาถึงของอิสลาม
การเปลี่ยนแปลงทางความหมายในโลกมลายู
• หลังจากศาสนาอิสลามแพร่เข้าสู่คาบสมุทรมลายู คำว่า “Puasa” ถูกใช้แทนคำในภาษาอาหรับ “Ṣawm” (صَوْمٌ) ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอาน หมายถึง การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
• ปัจจุบัน คำว่า “Puasa” เป็นคำมาตรฐานในภาษามลายูและอินโดนีเซียที่หมายถึง การถือศีลอดของชาวมุสลิม โดยเฉพาะในเดือนรอมฎอน
#หมายเหตุ : #ภาพเก่าเมื่อปีที่แล้ว
ปัจจุบันท่าน พล.ท.ไพศาล หนูสังข์ ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4
No comments:
Post a Comment