Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Thursday, August 28, 2014

“แพ้” หรือ “ชนะ”

10628295_1546248418929526_3094910131044206753_nนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล

การสู้รบกันในดินแดนปาเลสไตน์ระหว่างชนชาติอิสราเอลผู้ยึดครอง กับชนชาติปาเลสไตน์ผู้ถูกกดขี่ มีลักษณะเป็นสงครามอสมมาตร (asymmetric warfare) ระหว่างฝ่ายที่อ่อนแอกว่าต่อสู้กับฝ่ายที่เข้มแข็งกว่าอย่างมาก   โดยชาวปาเลสไตน์ ต่อสู้กับยิวไซออนิสต์ในลักษณะของสงครามการก่อความไม่สงบ (insurgencies warfare) ลักษณะเดียวกับการต่อสู้ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยใช้วิธีการรบแบบกองโจร (guerrilla warfare) "เอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่ เอ็งแย่ข้าตี เอ็งหนีข้าตาม" ที่มีลักษณะเป็นสงครามยืดเยื้อ แย่งชิงและชี้ขาดกันด้วยมวลชน

จุดมุ่งหมายของ "อสมมาตรวิธี" คือการใช้วิธีการรบแบบกองโจร ทำลายหลักดำรงความมุ่งหมาย (หลักการสงครามประการที่ 1 ตามหลักนิยม หลักการสงคราม 10 ประการของกองทัพบกไทย) ทำให้ฝ่ายข้าศึก ในที่นี้คือ รัฐบาลไซออนิสต์ของอิสราเอล ท้อแท้หมดกำลังใจ ที่จะรุกรบต่อไป

นายเบนยามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ประกาศชัยชนะเมื่อเร็ว ๆ นี้ ตามข่าวบอกว่า ความขัดแย้งยาวนานเจ็ดสัปดาห์ในเขตกาซาจบลงด้วย “ชัยชนะ” และกล่าวว่า “กลุ่มฮามาสถูกโจมตีอย่างหนักและยังไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ”

#คำกล่าวเช่นนี้เป็นจริงหรือไม่เรามาพิจารณากัน

นายเฮนรี่ คิซซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ในรัฐบาลริชาร์ด นิกสัน (ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี 1973) ได้กล่าวไว้ว่า "สำหรับฝ่ายรัฐบาลนั้น ถ้าไม่สามารถเอาชนะข้าศึกได้ก็คือแพ้ แต่สำหรับฝ่ายกองโจรแล้ว เพียงแต่พวกเขาดำรงตนเองให้อยู่ได้ก็เท่ากับชนะ"

จุดมุ่งหมายการก่อเหตุความไม่สงบของกองโจรฮามาส แห่งปาเลสไตน์ก็เพื่อสภาวะดังกล่าวเช่นเดียวกัน สถานการณ์ในดินแดนปาเลสไตน์ที่กองทัพอิสราเอลไม่อาจทำอะไรได้มากไปกว่าฆ่าชาวปาเลสไตน์ด้วยความเข้มแข็งทางการทหารและเทคโนโลยีที่เหนือกว่าไปแล้วหลายพันคน อยู่ในขั้น "ยัน" กันทางยุทธศาสตร์ ไม่มีแพ้ ไม่มีชนะ แต่กองโจรฮามาสของปาเลสไตน์ยังคงดำรงอยู่ได้ท่ามกลางมวลชนชาวปาเลสไตน์ อาจกล่าวได้ว่า กองโจรฮามาส "ชนะ" กองทัพอิสราเอลในทางยุทธศาสตร์ตามความหมายข้างต้นนั่นเอง

ผลการเจรจาตามข้อตกลงหยุดยิง จะมีการยกเลิกการปิดล้อมทางเศรษฐกิจแก่ฮามาสทีละขั้น โดยเริ่มจากขยายน่านน้ำออกไปอีก 6 ไมล์ทะเล เปิดด่านพรมแดน และเริ่มเจรจาเพื่อสร้างท่าเรือและสนามบินภายหลังลงนามในข้อตกลงแล้ว 1 เดือน

ไม่ต่างอะไรจาก "สงครามเวียดนาม" ที่หลักดำรงความมุ่งหมายทางการทหารของสหรัฐฯ ถูกทำลายโดยพลังมวลชนอเมริกันชนที่เดินขบวนประท้วงอยู่ในมาตุภูมิซึ่งอยู่กันคนละซีกโลกของสนามรบ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ต่อนโยบายทางการเมืองและการทหาร หลักดำรงความมุ่งหมายของกองทัพสหรัฐฯ พ่ายแพ้นโยบายทางการเมืองในประเทศ ทำให้สหรัฐฯ แพ้สงครามพ่ายทางยุทธศาสตร์ในเวียดนาม

คราวนี้มองออกหรือยังครับว่าใคร “แพ้” หรือ “ชนะ”

อย่างไรก็ตาม  สงครามยังไม่จบหรอกครับ

Friday, April 25, 2014

ปราบเท่าไหร่ก็ไม่หมด!!!


Thursday, March 27, 2014

รับฟังบรรยายจากครูภูมิปัญญาท้องถิ่น


เปิดข้อตกลง 'ดับไฟใต้' ฟิลิปปินส์

ที่มา: VOICETV

101162

เอ็มไอแอลเอฟลงนามสันติภาพกับรัฐบาลมะนิลาในวันพฤหัสบดี ยุติการต่อสู้เพื่อเอกราชด้วยกำลังอาวุธ ยอมรับข้อตกลงปกครองตนเอง พร้อมกับมีสิทธิ์มีส่วนในทรัพยากรท้องถิ่น

รัฐบาลของประธานาธิบดีเบนิกโน อาคีโน กับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (เอ็มไอแอลเอฟ) ลงนามข้อตกลงสันติภาพกันในวันพฤหัสบดี ปิดฉากการต่อสู้ด้วยอาวุธในภาคใต้ของฟิลิปปินส์

เอ็มไอแอลเอฟมีนักรบประมาณ 10,000 คน นับเป็นกบฏมุสลิมกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ กลุ่มติดอาวุธนี้ต่อสู้เพื่อเอกราชของชนกลุ่มน้อยมุสลิมมานาน 4 ทศวรรษ

กลุ่มนี้แยกตัวมาจากแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (เอ็มเอ็นแอลเอฟ) เพราะความขัดแย้งภายใน เอ็มเอ็นแอลเอฟได้ตกลงยอมรับการปกครองตนเองไปแล้วก่อนหน้านี้

ข้อตกลงสันติภาพฉบับนี้ มีชื่อว่า "ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ว่าด้วยชนชาติบังซาโมโร" (Comprehensive Agreement on the Bangsamoro)

บังซาโมโรเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ตั้งแต่ยุคที่พวกสเปนเข้าพิชิตและยึดครองหมู่เกาะแถบนั้นเป็นอาณานิคม บังซาแปลว่าประชาชาติ โมโรมีรากมาจากคำว่า "พวกมัวร์" ซึ่งเจ้าอาณานิคมสเปนใช้เรียกชาวมุสลิม

4d9449f2a46921feb4d9987cc78a4167@  นักรบเอ็มไอแอลเอฟหลายพันคน รวมตัวแสดงการสนับสนุนการทำข้อตกลงสันติภาพ ที่ค่ายของกบฏมุสลิมกลุ่มนี้ บนเกาะมินดาเนาทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ เมื่อ 27 มีนาคม 2557

ข้อตกลงดังกล่าว มีสาระสำคัญ คือ

ปกครองตนเอง: เอ็มไอแอลเอฟเลิกแยกดินแดนหมู่เกาะมินดาเนา ในปี 2559 จะมีการจัดตั้งเขตปกครองตนเองบังซาโมโร มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา เขตปกครองนี้จะตั้งขึ้นแทนเขตเดิมที่เคยตกลงกับกลุ่มเอ็มเอ็นแอลเอฟ (MNLF-Moro National Liberation Front) เมื่อทศวรรษ 1990 แต่ไม่สามารถเป็นจริงได้

ปลดอาวุธ: เอ็มไอแอลเอฟ (MILF-Moro Islamic Liberation Front) จะทยอยยุบเลิกพลพรรคนักรบ และปลดอาวุธ และจะมีการจัดตั้งตำรวจท้องถิ่นขึ้นรับหน้าที่แทนตำรวจและทหารของฟิลิปปินส์

อำนาจรัฐบาลกลาง: รัฐบาลฟิลิปปินส์จะยังคงมีอำนาจบริหารในด้านกลาโหม นโยบายต่างประเทศ สกุลเงิน และงานทะเบียนต่างๆ

ภาษี/รายได้: รัฐบาลปกครองตนเองจะได้รับส่วนแบ่ง 75% ของภาษีท้องถิ่น ค่าธรรมเนียม และเงินจัดเก็บทุกประเภท และสัดส่วน 75% จากค่าภาคหลวงแร่โลหะกับภาษีด้านการประมงในรัศมี 12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง

กฎหมายอิสลาม: มินดาเนาจะไม่เป็นรัฐอิสลาม หากแต่ปกครองแบบโลกวิสัย ศาสนบัญญัติอิสลามหรือชารีอะฮ์จะใช้กับชาวมุสลิมเท่านั้น และใช้กับคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา ผู้อยู่อาศัยทุกคนมีหลักประกันสิทธิพื้นฐานในชีวิต การสัญจร ความเป็นส่วนตัว และมีเสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา

เขตแดน: เขตปกครองตนเองครอบคลุม 5 จังหวัด กับอีกสองเมือง หกอำเภอ และ 39 หมู่บ้าน กินพื้นที่ราว 10% ของพื้นที่บกทั้งหมดของฟิลิปปินส์

ธรรมนูญ: อาคีโนจะเสนอให้รัฐสภาผ่าน "ธรรมนูญการปกครองบังซาโมโร" สำหรับเขตปกครองตนเองดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้

ประชามติ: ประชาชนในพื้นที่เขตปกครองตนเองจะต้องออกเสียงลงประชามติรับรองธรรมนูญฉบับนี้ในปี 2558

ถ่ายโอนอำนาจ: หลังจากธรรมนูญผ่านรัฐสภาและผ่านประชามติของคนในพื้นที่ หน่วยปกครองที่เรียกว่า "องค์การถ่ายโอนอำนาจบังซาโมโร"  จะบริหารพื้นที่ไปจนกว่าจะมีสภาท้องถิ่นจากการเลือกตั้ง องค์การนี้มีสมาชิก 15 คน แต่งตั้งโดยอาคีโน แต่เอ็มไอแอลเอฟจะนั่งเก้าอี้ประธานและครองเสียงข้างมาก

การเลือกตั้ง: สภาท้องถิ่น ซึ่งคาดว่าจะมี 50 ที่นั่ง จะได้รับการเลือกตั้งพร้อมกันกับการเลือกตั้งระดับชาติในเดือนพฤษภาคม 2559.

Source : AFP

Wednesday, March 12, 2014

กายพร้อม ใจพร้อม


Friday, January 3, 2014

ปิดถนนประท้วง !!

DSCN0960เหตุการณ์ที่ อ.ธารโต จ.ยะลา เมื่อปี 2550

ช่วงนี้มีข่าวการปิดถนนกันบ่อยครั้ง เป็นเรื่องเก่า ยุทธวิธีเก่า ๆ แต่เอามาฮิตกันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ความเคลื่อนไหวของม็อบประชาธิปัตย์ในกรุุงเทพฯ ความเหมือนและแตกต่างจากยุทธวิธีของแนวร่วมผู้ก่อเหตุรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมมีเรื่องจะเล่าให้ฟังครับ

เมื่อประมาณปี 2549-2550 ขณะที่ผมยังรับราชการอยู่ที่กองกำกับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา  แนวความคิดในการต่อสู้ทางยุทธวิธี สมาชิกแนวร่วมกลุ่มก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการใช้การปิดถนนเส้นทางสายหลักระหว่างตัวจังหวัดกับอำเภอต่าง ๆ เพื่อประท้วง ตอบโต้ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในเขตงานพื้นที่ อ.บันนังสตา และ อ.ธารโต ของ จังหวัดยะลา

การปิดถนนดังกล่าว มีการใช้เครื่องกีดขวางต่าง ๆ เช่นท่อนไม้ขนาดใหญ่ การตัดต้้นไม้ขวางถนน  และมีการตั้งเต็นท์ประกอบเลี้ยงบนถนนปิดเส้นทางการจราจร โดยใช้เด็กและสตรีเป็นทัพหน้า ส่วนกลุ่มชายฉกรรจ์จะอยู่หลังฉาก ปล่อยให้เด็กและสตรีอยู่เผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ ในระยะแรกของปิดถนนประท้วง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างยากลำบาก ตำรวจ ทหารและฝ่ายปกครองไม่กล้าใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับกลุ่มผู้ชุมนุม (เพราะมีแต่เด็กและสตรี)  มีผลทำให้การชุมนุมยืดเยื้อกินเวลาหลายวัน สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นบรรดาพ่อค้า ผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ที่ต้องใช้เส้นทางในการสัญจร ข้าราชการที่ต้องเดินทางไปกลับในตัวเมือง เกษตรกรที่จะนำผลผลิตไปขายต่างท้องที่  และแม้แต่กระทั่งประชาชนธรรมดาในพื้นที่ซึ่งเป็นแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเอง ก็ได้รับผลกระทบนี้ด้วยเช่นกัน

หลังจากแนวร่วมกลุ่มก่อเหตุรุนแรงใช้ยุทธวิธีในการต่อสู้กับอำนาจรัฐด้วยการปิดถนนประท้วงอยู่สักระยะหนึ่ง ความเดือดร้อนเริ่มลุกลามบานปลายขยายตัวไปทั่ว คนเจ็บจะไปโรงพยาบาลก็ไม่ได้  แม่บ้านจะไปซื้อกับข้าวที่ตลาดก็ไม่ได้  เด็ก ๆ ในหมู่บ้านจะไปโรงเรียนก็ไม่ได้ จะขับรถไปรับไม้ยางพาราในท้องที่ข้างเคียงก็ไม่ได้ ภัยคุกคามทุกอย่างเข้าตัวหมด  แนวร่วมกลุ่มก่อเหตุรุนแรงเองก็ได้รับผลกระทบในการปิดถนนนี้อย่างถ้วนหน้าด้วยเช่นกัน จนเกิดความขัดแย้งภายใน  ในที่สุดการปิดถนนประท้วงที่ได้ผลดีในตอนแรกกลับทำให้เกิดผลลัพธ์ด้านลบทั้งภาพลักษณ์และผลกระทบแก่ขบวนการเอง จนแกนนำแนวร่วมขบวนการต้องเลิกยุทธวิธีนี้ไปในที่สุด

หลังจากช่วงประมาณปี 2550 เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน ผมไม่เคยได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับการใช้ยุทธวิธีปิดถนนประท้วงเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกเลย...

ประวัติศาสตร์จะหมุนซ้ำรอยเดิม แต่ไม่ติดอ่าง….

RevolverMap