Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Friday, January 3, 2014

ปิดถนนประท้วง !!

DSCN0960เหตุการณ์ที่ อ.ธารโต จ.ยะลา เมื่อปี 2550

ช่วงนี้มีข่าวการปิดถนนกันบ่อยครั้ง เป็นเรื่องเก่า ยุทธวิธีเก่า ๆ แต่เอามาฮิตกันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ความเคลื่อนไหวของม็อบประชาธิปัตย์ในกรุุงเทพฯ ความเหมือนและแตกต่างจากยุทธวิธีของแนวร่วมผู้ก่อเหตุรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมมีเรื่องจะเล่าให้ฟังครับ

เมื่อประมาณปี 2549-2550 ขณะที่ผมยังรับราชการอยู่ที่กองกำกับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา  แนวความคิดในการต่อสู้ทางยุทธวิธี สมาชิกแนวร่วมกลุ่มก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการใช้การปิดถนนเส้นทางสายหลักระหว่างตัวจังหวัดกับอำเภอต่าง ๆ เพื่อประท้วง ตอบโต้ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในเขตงานพื้นที่ อ.บันนังสตา และ อ.ธารโต ของ จังหวัดยะลา

การปิดถนนดังกล่าว มีการใช้เครื่องกีดขวางต่าง ๆ เช่นท่อนไม้ขนาดใหญ่ การตัดต้้นไม้ขวางถนน  และมีการตั้งเต็นท์ประกอบเลี้ยงบนถนนปิดเส้นทางการจราจร โดยใช้เด็กและสตรีเป็นทัพหน้า ส่วนกลุ่มชายฉกรรจ์จะอยู่หลังฉาก ปล่อยให้เด็กและสตรีอยู่เผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ ในระยะแรกของปิดถนนประท้วง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างยากลำบาก ตำรวจ ทหารและฝ่ายปกครองไม่กล้าใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับกลุ่มผู้ชุมนุม (เพราะมีแต่เด็กและสตรี)  มีผลทำให้การชุมนุมยืดเยื้อกินเวลาหลายวัน สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นบรรดาพ่อค้า ผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ที่ต้องใช้เส้นทางในการสัญจร ข้าราชการที่ต้องเดินทางไปกลับในตัวเมือง เกษตรกรที่จะนำผลผลิตไปขายต่างท้องที่  และแม้แต่กระทั่งประชาชนธรรมดาในพื้นที่ซึ่งเป็นแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเอง ก็ได้รับผลกระทบนี้ด้วยเช่นกัน

หลังจากแนวร่วมกลุ่มก่อเหตุรุนแรงใช้ยุทธวิธีในการต่อสู้กับอำนาจรัฐด้วยการปิดถนนประท้วงอยู่สักระยะหนึ่ง ความเดือดร้อนเริ่มลุกลามบานปลายขยายตัวไปทั่ว คนเจ็บจะไปโรงพยาบาลก็ไม่ได้  แม่บ้านจะไปซื้อกับข้าวที่ตลาดก็ไม่ได้  เด็ก ๆ ในหมู่บ้านจะไปโรงเรียนก็ไม่ได้ จะขับรถไปรับไม้ยางพาราในท้องที่ข้างเคียงก็ไม่ได้ ภัยคุกคามทุกอย่างเข้าตัวหมด  แนวร่วมกลุ่มก่อเหตุรุนแรงเองก็ได้รับผลกระทบในการปิดถนนนี้อย่างถ้วนหน้าด้วยเช่นกัน จนเกิดความขัดแย้งภายใน  ในที่สุดการปิดถนนประท้วงที่ได้ผลดีในตอนแรกกลับทำให้เกิดผลลัพธ์ด้านลบทั้งภาพลักษณ์และผลกระทบแก่ขบวนการเอง จนแกนนำแนวร่วมขบวนการต้องเลิกยุทธวิธีนี้ไปในที่สุด

หลังจากช่วงประมาณปี 2550 เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน ผมไม่เคยได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับการใช้ยุทธวิธีปิดถนนประท้วงเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกเลย...

ประวัติศาสตร์จะหมุนซ้ำรอยเดิม แต่ไม่ติดอ่าง….

No comments:

Post a Comment

RevolverMap