#เจ้าบ้านที่แท้จริงของโลกมลายู — #หรือแค่ผู้กลัวเงาตัวเอง?
![]() |
ในขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ยังคงละเมอถึง “ดินแดนมลายู” ที่ทอดยาวตั้งแต่ปัตตานีถึงสิงคโปร์ พร้อมทั้งโยนความผิดว่า “ประเทศเพื่อนบ้าน” ค่อย ๆ ยึดเอาแผ่นดินของมาเลเซียไปทีละน้อย
คำถามที่คนในโลกแห่งความจริง (ซึ่งตื่นแล้ว ไม่ได้ฝันไป) อยากถามกลับก็คือ…
แล้วทำไมท่านอดีตนายกฯ ไม่เริ่มจากการรวมกับอินโดนีเซียก่อนล่ะครับ?
เพราะหากจะพูดถึง “Tanah Melayu” — แผ่นดินของชนชาติมลายู
อินโดนีเซียนี่แหละคือประเทศที่มี ‘มลายู’ มากกว่าทุกหัวระแหงของมาเลเซีย
มีประชากรมากกว่า วัฒนธรรมลึกซึ้งกว่า และภาษาใกล้เคียงจนแทบจะยกกันไปใช้แทนได้
- Tanah Melayu: วาทกรรมชาตินิยมแบบชาติพันธุ์ (ethno-nationalism) ที่เชิดชูความเป็น “มลายูแท้” และมีแนวโน้มผลักไสผู้ไม่ใช่มลายู (Bumiputera)
แต่ทำไม Tanah Melayu ถึงไม่กล้าแม้แต่จะเอ่ยชื่อ “Tanah Air”?
คำว่า Tanah Air ในภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า “แผ่นดินและผืนน้ำ”
เป็นถ้อยคำที่ประชาชนใช้เรียกประเทศของตนเอง ด้วยความรัก ความผูกพัน และการเสียสละต่อมาตุภูมิ เป็นแนวคิดที่เปิดรับความหลากหลายของชาติพันธุ์ ศาสนา และภาษา เน้นการอยู่ร่วมกันของทุกกลุ่มบนดินแดนหมู่เกาะ โดยไม่อ้างสิทธิ์ในอดีตเพื่อยึดพื้นที่ใคร
Tanah Air คือมาตุภูมิของทุกคน ไม่ใช่ของชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่ง
Tanah Air จึงเป็นวาทกรรมที่มองไปข้างหน้า
ขณะที่ Tanah Melayu ยังจมอยู่กับการยืนยันความเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว
บนแผ่นดินที่มีผู้คนหลากหลาย (Bumiputera)
ดร.มหาเธร์ เคยแสดงท่าทีว่าอยากเห็น “ชาวมลายูรวมเป็นหนึ่ง”
แต่…กลับไม่เคยผลักดันแนวคิด “มาเลย์ Raya” หรือ “มลายูใหญ่” อย่างจริงจัง
เพราะเขารู้ดีว่า ถ้าให้สองชาติรวมกันจริง มาเลเซียจะไม่ได้เป็นผู้นำ
แต่จะกลายเป็น เพียงจังหวัดหนึ่งของ “นูซันตารา”
และนั่นอาจเป็นความกลัวที่ใหญ่กว่าการสูญเสียดินแดน…คือการสูญเสียตัวตนที่ตนเองสร้างขึ้นจากมายาคติ
******************************************
#ความเข้าใจในศาสนาและประวัติศาสตร์คือหนทางในการดับไฟใต้
No comments:
Post a Comment