Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Thursday, August 30, 2012

โหด..คนร้ายฆ่าตัดคอเผาพ่อค้ารับซื้อยางยะลา

สำนักข่าวอะลามี่ : โหด...คนร้ายคาดมีไม่ต่ำกว่า4คน ก่อเหตุอำมหิตฆ่าตัดคอพ่อค้ารับซื้อเศษยางพารา ก่อนจะเผาทั้งคนทั้งรถยนต์ ทิ้งศีรษะข้างทาง ในพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา

yala3008

ที่มา : โหด..คนร้ายฆ่าตัดคอเผาพ่อค้ารับซื้อยางยะลา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลาประมาณเวลา 07.00น. ของวันนี้(30สิงหาคม) ได้รับแจ้งเหตุด่วนมีคนถูกฆ่าตัดคอแล้วเผาบนรถกระบะ เหตุเกิดที่ หมู่ที่ 3 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา

            หลังรับแจ้ง พ.ต.อ.เจริญ ธรรมขันธ์ ผกก.พ.ต.ท.มนตรี จุลานุพันธ์ รอง ผกก.สส. พ.ต.ท.ศุภชัช ยีหวังกอง รอง ผกก.ป. สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร และ ฝ่ายปกครองรุดไปสอบสวน ที่เกิดเหตุอยู่บนทางหลวงสาย ตะบิงติงงี-ศรีสาคร ห่างจากทางหลวงสาย 410 (ยะลา-เบตง) ประมาณ  2.5 กม.พบซากรถกระบะ ยี่ห้อโตโยต้าไฮลักซ์ วีโก้ สีเทา เลขทะเบียน บฉ-6198 ยะลา ยังมีควันไฟกรุ่นอยู่ จอดอยู่ริมถนน

          ตรวจสอบบนกระบะท้ายรถ พบร่างมนุษย์ที่ดำเป็นตอตะโกทราบชื่อ นายต่วนดาโอ๊ะ ต่วนสุหลง อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที 12 หมู่ที่ 10  ต.ตลิ่งชัน ยังมีควันลอยอยู่พร้อมกับซากขี้เถ้าเศษกล่องกระดาษ และห่างไปทางท้ายรถยนต์ประมาณ 10 เมตร พบศีรษะ นายต่วนดาโอ๊ะถูก ตัดบริเวณลำคอ ทิ้งอยู่ในกอหญ้าข้างทาง

         ร.ต.ท.ซุลกิพลี ระเซาะ ร้อยเวร สภ.บันนังสตา จ.ยะลา กล่าวว่าจากการสอบสวน ทราบว่า นายต่วนดาโอ๊ะ ต่วนสุหลง ผู้ตายมีอาชีพค้าขายและรับซื้อเศษยางพารา ก่อนเกิดเหตุราว 06.00 น.วันเดียวกัน ได้ขับรถกระบะคันดังกล่าวโดยบอกทางบ้านว่าจะไปฟอกไต ที่โรงพยาบาลยะลา

          โดยต่อมาเวลา 07.00 น.ร.อ.ปริญญา คำพรม ผบ.ร้อย ร.7021 ฉก.ยะลา 15 นำกำลังออกจากฐานที่ รร.บ้านทรายแก้ว หมู่ 5 ตำบลเดียวกันลาดตระเวนเส้นทางพบไฟกำลังลุกไหม้รถกระบะและพบร่างคนกำลังถูก เผาอยู่บนกระบะท้าย จึงได้รีบประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ ซึ่งคาดว่าหลัง นายต่วนดาโอ๊ะ ขับรถออกจากบ้านพัก คนร้ายไม่ต่ำกว่า 4 คน ซึ่งรู้จักกับ นายต่วนดาโอ๊ะใช้รถ จยย.หรือ อาจเป็นรถกระบะเป็นยานพาหนะติดตามไปแล้วเรียกให้นายต่วนดาโอ๊ะ หยุด รถทำทีมีธุระพูดคุยแล้วจัดการทุบทำร้ายจนนายต่วน สลบหลังจากนั้นนำร่างไป วางบนกระบะท้ายใช้มีดสปาร์ต้าตัดคอแล้วจัดการราดน้ำมันเบนซินจุดไฟเผา โดยก่อนหลบหนีคนร้ายได้นำศีรษะนายต่วนไปทิ้งข้างทาง จนเจาหน้าที่ทหารลาดตระเวน ไปประสบเหตุดังกล่าว

        ส่วนสาเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจคาดว่า เป็นการสร้างสถานการณ์ เนื่องจาก นายต่วนดาโอ๊ะ รู้จักกับเจ้าหน้าที่ของทางราชการหลายฝ่าย คนร้ายเข้าใจผิดคิดว่า เป็นสาย จึงจัดการฆ่าตัดคอแล้วเผาดังกล่าว

Thursday, August 16, 2012

มอบเครื่องอุปโภคบริโภคผู้นำศาสนา

 

Saturday, August 11, 2012

ศาลมาเลย์ยกฟ้อง 3 มือระเบิด บททดสอบความร่วมมือไทย-มาเลเซียดับไฟใต้

นูรยา เก็บบุญเกิด
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
ที่มา: ประชาไท

แม้มีการคาดการณ์หรือกล่าวหากันอยู่บ่อยครั้งว่า ขบวนการต่อต้านรัฐในภาคใต้ของไทยใช้มาเลเซียเป็นฐานในการวางแผนก่อเหตุรุนแรง แต่ก็ยังไม่มีการจับกุมกันอย่างคาหนังคาเขา ตราบจนกระทั่งในปี 2552 ที่ตำรวจมาเลเซียได้เข้ารวบตัวชายมุสลิม 3 คนจากนราธิวาสได้ที่บ้านพักแห่งหนึ่งใกล้ชายแดนไทย – มาเลเซีย

นายมูฮัมหมัดซิดี อาลี (ซ้าย) นายมามะคอยรี สือแม (กลาง) และ นายมะยูไน เจ๊ะดอเลาะ (ขวา)

อุปกรณ์บางส่วนที่พบขณะตำรวจมาเลเซียเข้าตรวจค้นในบ้านเช่าในรัฐกลันตันในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 ซึ่งอดีตจำเลยคดีระเบิดทั้งสามคนอยู่ในบ้านหลังดังกล่าว หมายเลข 1) กระสุนปืนขนาด.38 2) กล่องเหล็ก 3) ไดนาไมค์ 4) โทรศัพท์มือถือ 5) พาวเวอร์เจล และ 6) แอมโมเนียมไนเตรท

การดำเนินคดีกับทั้งสามคนเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เพราะจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียในการร่วมมือกับดับไฟใต้ได้อย่างดี

คดีนี้เริ่มต้นจากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกรมสอบสวนอาชญากรรมในรัฐกลันตัน (Kelantan Criminal Investigation Department) บุกเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องสงสัยที่คาดว่ามีสารเสพติดในครอบครองภายในบ้านเช่าในหมู่บ้านเกเบง อำเภอปาเซร์มัส ประเทศมาเลเซียพร้อมสื่อมวลชน แต่เมื่อเข้าจับกุมกลับพบอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนมาก ได้แก่ ไดนาไมต์จำนวน 160 แท่ง กล่องโลหะ ถังดับเพลิง สารแอมโมเนียมไนเตรท โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์รีโมทคอนโทรล และกระสุนกว่า 248 นัด

ชายมุสลิมสัญชาติไทยทั้ง 3 คนที่อยู่ในบ้านหลังนั้น คือ นายมามะคอยรี สือแม นายมูฮัมหมัดซิดี อาลี และนายมะยูไน เจ๊ะดอเลาะ ทั้ง 3 คนถูกศาลมาเลเซียตัดสินลงโทษจำคุก 10 เดือนและโบย 3 ครั้งในข้อหาหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จากนั้นก็ถูกดำเนินคดีฐานมีเครื่องกระสุนและวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นคดีที่ทางการไทยเฝ้าติดตามมาโดยตลอด

ผู้ต้องหาคดีนี้เป็นใคร

นายมามะคอยรี เป็นผู้ต้องหา 1 ใน 7 คนที่ถูกจับกุมในโรงเรียนอิสลามบูรพา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 หลังเจ้าหน้าที่บุกเข้าตรวจค้นโรงเรียนและพบอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนมาก

ต่อมาระหว่างถูกคุมขัง มามะคอยรีได้แจ้งเจ้าหน้าที่เรือนจำว่า ตนเองป่วยและขอไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ แม้ว่าเขาจะถูกล่ามโซ่ไว้กับเตียงคนไข้ในโรงพยาบาล แต่มามะคอยรีก็ยังสามารถหาวิธีหลบหนีไปได้สำเร็จ ชื่อของเขาก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง เมื่อถูกตำรวจมาเลเซียจับกุมตัวที่บ้านเช่าหลังนั้น

ในขณะที่มามะคอยรีถูกควบคุมตัว และถูกศาลมาเลเซียพิจารณาคดีอยู่นั้น จำเลยอีก 6 คนที่ถูกจับกุมพร้อมกับเขาที่โรงเรียนอิสลามบูรพาได้ถูกศาลจังหวัดนราธิวาสพิพากษาลงโทษประหารชีวิตไป 5 คน ส่วนอีกหนึ่งคนให้จำคุก 27 ปี โดยข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดคือความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายและเป็นซ่องโจร โดยศาลเห็นว่าเป็นการกระทำที่ “เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม”

หากนายมามะคอยรีถูกนำตัวกลับมายังประเทศไทยก็จะต้องถูกดำเนินคดีเช่นกัน

ส่วนนายมูฮัมหมัดซิดี เคยถูกออกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) ข้อมูลของตำรวจระบุว่า เขาเป็นมือระเบิดในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ส่วนนายมะยูไนไม่พบประวัติในฐานข้อมูล

คำพิพากษาของศาลมาเลเซีย

หลังจากทั้ง 3 คนถูกตำรวจมาเลเซียจับกุม วันที่ 27 ธันวาคม 2552 ทางการมาเลเซียได้นำผู้ต้องหาทั้ง 3 คนไปยังศาลแผนกคดีอาญา ศาสปาเสมัส อ.ปาเสมัส รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียเพื่อทำการไต่สวน แต่ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงเลื่อนการไต่สวนออกไป

การพิจารณาคดีว่างเว้นไปนาน จนกระทั่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 ศาลมาเลเซียจึงได้ทำการไต่สวนและตัดสินว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุได้ว่า นายมูฮัมหมัดซิดีและนายมะยูไนมีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองวัตถุระเบิดศาลจึงมีคำสั่งให้ปล่อยตัวจำเลย 2 คนในชั้นของการไต่สวน โดยให้เหตุผลว่า อัยการไม่สามารถที่จะหาหลักฐานเบื้องต้นมาชี้มูลผูกมัดจำเลยทั้งสองได้ จำเลยเพียงมาเยี่ยมเยียนเพื่อนเท่านั้น

ในเอกสารของทางการไทยที่บันทึกคำสั่งศาลปาเสมัสในวันนั้น ระบุว่า เจ้าของบ้านได้ให้การว่า จำหน้าจำเลยสองคนนี้ไม่ได้ และจำเลยให้การว่า มาเยี่ยมเพียงหนึ่งวันและจะเดินทางกลับ นอกจากนี้ของกลางได้ถูกเก็บไว้ที่ใต้ถุนบันไดและหลังประตูในห้องของบ้านหลังดังกล่าว ซึ่งแขกคงจะไม่ได้เข้าไปในบริเวณนั้นซึ่งอยู่ลึกเข้าไป

คดีนี้จึงมีมามะคอยรีคนเดียวที่เป็นจำเลย โดยในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ศาลสูงโกตาบารูได้พิพากษาให้ยกฟ้อง โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยที่ไปนั่งฟังคำพิพากษาด้วย เล่าว่า นายมามะคอยรีอ้างกับศาลว่า เหตุที่ตนหลบหนีออกจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และเดินทางเข้าไปยังประเทศมาเลเซียนั้น ก็เนื่องจากมีอาการปวดหลังและปวดท้องจากการถูกซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ของไทย และได้มาพักอาศัยที่บ้านเพื่อนในมาเลเซีย ซึ่งเพื่อนคนดังกล่าวเป็นบ้านของนายอัมรานซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ยิงเสียชีวิตที่ จ.นราธิวาสไปก่อนหน้านี้ ศาลเห็นว่านายมามะคอยรี เพียงมาอาศัยพักพิงและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิดและอาวุธที่พบในบ้านดังกล่าว

เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของไทย ระบุว่าคำพิพากษานี้ทำให้ทางการไทย “ผิดหวังมาก” หากจำเลยทั้งสามได้รับการลงโทษ ก็จะแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนที่จะไม่สนับสนุนและให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่หลบหนีเข้าไปยังมาเลเซีย ซึ่งน่าจะส่งผลโดยตรงต่อการปฏิบัติการของกลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในชายแดนใต้

เจ้าหน้าที่คนเดิม ชี้ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้ ทางมาเลเซียเองจะต้องดูประเด็นเรื่องการเมืองภายในประเทศด้วย เพราะว่าทั้งพรรค UMNO ซึ่งคุมรัฐบาลกลางอยู่และพรรค PAS ซึ่งคุมรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐกลันตัน ต่างก็ต้องการแย่งฐานคะแนนเสียงของคนมุสลิม และไม่ต้องการที่จะดำเนินการใดๆ ที่มีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อฐานเสียงของตัวเองได้ คนมลายูในภาคใต้ของไทยกับตอนเหนือของมาเลเซียมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติและร่วมชาติพันธุ์กัน ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะช่วยเหลือกัน คนมาเลเซียมองว่า การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชไม่ใช่การก่อการร้าย

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน

นอกจากจะผิดหวังกับคำพิพากษาแล้ว ทางการไทยยังผิดหวังกับความไม่ร่วมมือของทางการมาเลเซียในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วย เจ้าหน้าที่ความมั่นคงอธิบายว่า การส่งกลับนั้นทำได้ 2 ทาง คือ หนึ่ง เป็นการส่งกลับด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งยังคงมีข้อถกเถียงในเชิงกฎหมายว่าไทยกับมาเลเซียนั้นมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Extradition Treaty) ระหว่างกันหรือไม่ ไทยชี้แจงว่า มีโดยการอ้างสนธิสัญญาที่เคยทำไว้กับอังกฤษซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคมของมาเลเซีย แต่ฝ่ายมาเลเซียถือว่าไม่มีผลบังคับใช้แล้ว วิธีที่สองคือการผลักดันกลับฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย

เจ้าหน้าที่ความมั่นคงไทยเล่าว่า ทางการไทยส่งคนไปเฝ้าถามทุกวันว่าจะมีการปล่อยตัวจำเลยเมื่อใด แต่ก็ไม่เคยได้รับคำตอบจากทางการมาเลเซีย

“เขาจงใจปกปิด” เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าว

ฝ่ายทหารเองก็พยายามที่จะใช้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพในการขอให้ส่งตัวกลับมา นายมูฮัมหมัดซิดีและนายมะยูไน ได้ถูกปล่อยตัวที่บริเวณชายแดนในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมาโดยทางการไทยไม่ได้รับทราบ ส่วนนายมามะคอยรี หลังจากศาลได้ยกฟ้องและสั่งปล่อยตัว เจ้าหน้าที่มาเลเซียได้นำไปควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจที่ปาเสร์มัส รัฐกลันตัน ปัจจุบันไม่แน่ชัดว่าทั้งสามคนอยู่ที่ใด

Wednesday, August 1, 2012

การแก้ปัญหาใน 3 จชต. ต้องแก้ที่หัวใจ

dsc_0153

หากเกิดปัญหาใด ๆ หรือข้อขัดข้องขึ้นมา  แต่ละคนย่อมมีวิธีการจัดการกับปัญหาแตกต่างกัน ตามพื้นฐานความรู้และประสบการณ์    แต่สำหรับผม การจะแก้ปัญหาใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาในที่ทำงาน ก่อนที่จะลงมือจัดการกับปัญหา ต้องรู้ที่มาหรือรากเหง้าของปัญหาให้ได้เสียก่อน เมื่อรู้ที่มาของปัญหาแล้ว จึงจะสามารถกำหนดแนวทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมต่อไปได้

คงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีที่มาหรือรากเหง้าของปัญหามาจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ความภาคภูมิใจต่อความเจริญและความรุ่งเรืองในอดีตของชาวมลายูมุสลิมปัตตานี

หากนึกสภาพไม่ออก ลองเอาใจเขามาใส่ใจเราก็ให้นึกถึงความภาคภูมิใจของคนไทยที่มีต่อกรุงสุโขทัย หรือกรุงศรีอยุธยา ถ้าจะให้ชัดเจนก็ให้นึกถึงตอนที่กรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าถึงสองครั้งสองคราว ทั้งสองครั้งมีวีรบุรุษของชาติกู้บ้านกู้เมืองกลับคืนมาได้ทั้งสองครั้ง คนมุสลิมมลายูปัตตานีเขาก็มีหัวใจเช่นเดียวกัน มีความรู้สึกเจ็บปวด มีความเคียดแค้นไม่ต่างไปจากคนไทยที่มีต่อการเสียกรุงศรีอยุธยาทั้งสองครั้ง

หากไม่มีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้งสองพระองค์ ป่านนี้คงมีคนไทยส่วนหนึ่งซ่องสุมกำลั้งตั้งขบวนการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนออกจากพม่าและก็คงใช้ยุทธวิธีการรบแบบกองโจรเช่นเดียวกัน

หากไม่โดนด้วยตัวเองบ้างก็คงจะไม่รู้สึกรู้สาอะไร..????

นิยายปรัมปราที่รัฐไทยพยายามเล่าขาน โฆษณาชวนเชื่อว่า มัสยิดกรือเซะสร้างไม่เสร็จเพราะถูกคำสาปจากเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว แท้ที่จริงแล้วเป็นความเท็จทั้งสิ้น ช่างน่าขันจริง ๆ ที่กล้าเผาบ้านเผาเมืองเขาวอดวายผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรแล้ว ยังกล้าแต่งนิยายปรัมปราบีบคั้นหัวใจของคนมุสลิมอีก

โชคร้ายของชาวมลายูมุสลิมปัตตานี (แต่เป็นโชคดีของรัฐไทย) ที่ชาวมุสลิมมลายูปัตตานีไม่สามารถกระดิกพลิกตัวกู้ชาติบ้านเมืองได้สำเร็จเหมือนคนไทย ทำให้ทุกวันนี้ “รัฐปัตตานี” ที่เคยรุ่งเรืองในอดีตยังคงถูกผนวกเป็นจังหวัดหนึงของ “รัฐไทย” ประชาชนเป็นได้แค่พลเมืองชั้นสองของประเทศ

ความขมขื่น แรงบีบคั้น ความกดดันที่ถูกกดทับเอาไว้นับร้อย ๆ ปีจึงระเบิดเปรี้ยงออกมาอย่างรุนแรงเป็นที่ประจักษ์ในปัจจุบัน

RevolverMap