Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Wednesday, November 16, 2011

ผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจ (Minister Counsellor (Police Liaison))

เล่าสู่กันฟังครับ....
image
เรามักจะเคยชินและได้ยินชื่อตำแหน่ง ผู้ช่วยฑูตทหารบก เรือ อากาศ อยู่บ่อยครั้ง   แต่ความจริงแล้วในปัจจุบัน มีตำแหน่งผู้ช่วยฑูตฝ่ายตำรวจด้วยครับ... 


ปัจจุบัน มีตำรวจที่ทำหน้าที่ผู้ช่วยฑูตฝ่ายตำรวจ ประจำอยู่ใน 4 เมืองใหญ่ของประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย กรุงกัวลาลัมเปอร์  รัฐกลันตัน รัฐเกอดะห์  และรัฐตรังกานู  ส่วนประเทศอื่น ๆ เข้าใจว่า ยังไม่มี


ย้อนกลับไปที่ผู้ช่วยฑูตทหาร  ผู้ช่วยทูตฯ เป็นผู้แทน กองทัพ ของประเทศ ที่แสดงการสนับสนุน หรือยอมรับกองทัพของประเทศเจ้าบ้านว่าเป็นกองทัพที่เป็นเพื่อนกัน เป็นนัยเดียวกันกับการที่คู่ประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกัน คือการยอมรับในความเป็นเอกราชของกันและกัน สนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่ง ต่างฝ่ายต่างจะจัดตั้ง หรือ เปิดสถานเอกอัครราชทูต แลกเปลี่ยนกัน
ตำแหน่งผู้ช่วยฑูตทางทหาร มีชื่อในภาษาอังกฤษ ดังนี้
"Defence Attache" เป็นคำเรียกผู้แทนทางทหารของ กองทัพ หรือ ของ กระทรวงกลาโหม (ของไทย เป็นคำเรียกผู้แทนทางทหารของ กองบัญชาการทหารสูงสุด) เรียกเป็นภาษาไทยว่า ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ผู้ช่วยทูตทหาร หรือ ทูตทหาร


"Army Attache" เป็นคำเรียกผู้แทนทางทหารของ กองทัพบก เรียกเป็นภาษาไทยว่า ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ผู้ช่วยทูตทหารบก หรือ ทูตทหารบก
"Naval Attache" เป็นคำเรียกผู้แทนทางทหารของ กองทัพเรือ เรียกเป็นภาษาไทยว่า ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ผู้ช่วยทูตทหารเรือ หรือ ทูตทหารเรือ
"Air Attache" เป็นคำเรียกผู้แทนทางทหารของ กองทัพอากาศ เรียกเป็นภาษาไทยว่า ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ผู้ช่วยทูตทหารอากาศ หรือ ทูตทหารอากาศ


ส่วนผู้ช่วยฑูตฝ่ายตำรวจ ใช้คำว่า..."Minister Counsellor (Police Liaison)" ใช้คำในภาษาไทยว่า "อัครราชฑูตที่ปรึกษา (ฝ่ายตำรวจ)”  เรียกง่าย ๆ ว่า “นายตำรวจประสานงาน”  ทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับอาชญากรรมหรือคดีอาญาที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศนั่นเอง
แม้ว่า ตำแหน่งทางการฑูตของตำรวจจะจำกัดอยู่เฉพาะใน 4 เมืองหลักของมาเลเซีย  แต่ในอนาคต ผมเชื่อว่าน่าจะมีการขยายตำแหน่งผู้ช่วยฑูตฝ่ายตำรวจครอบคลุมกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อรองรับ "ประชาคมอาเซียน" ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558

ปัจจุบัน ตำแหน่ง ผู้ช่วยฑูตฝ่ายตำรวจ หรือ นายตำรวจประสานงานนั้น เป็นตำแหน่งหน้าที่อยู่ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสันติบาล ครับ

Monday, November 14, 2011

ตำแหน่งทางการทูต (1) - ผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจ ?

วันพุธที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
นิติภูมิ นวรัตน์

image

ฤหัสบดีที่ 1 ก.พ. เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป นักวิชาการชั้นสูงชาวญวนทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ณ กรุงฮานอย 18 ท่าน จะมาเยี่ยมเยียนนั่งทานอาหารบนพื้นหญ้าหน้าบ้านนิติภูมิที่หมู่บ้านเลคการ์เดน เขตลาดกระบัง โดยมี ศ.ดร.เหงียน มินห์ เคียต เป็นหัวหน้าคณะ

น้องคนไหนอยากไปเรียนเวียดนาม หรือใครที่เป็นแฟนเคยอ่านตำราของ ศ.ดร.เหงียน วัน แข็ง, ดร.เหงียน ง็อก แถง, ศ.ดร.ดิ่ง วัน ดึก, ดร.ห่า วัน ดึก, ศ.ดร.หม่า ง็อก จู, ดร.ฮวง ฮ่ง, ดร.เหงียน ฉิ หัว, ดร.ดิ่ง จุง เขียน, ดร.วิ วัน เขียน, ดร.เหงียน ตวน เกียท, ดร.วู หัว ฟาง, ศ.เล มัว หาน, ศ.ดร.เหงียน เตือน ไล, ดร.จิ๋ง ทิ ทึก ฯลฯ ก็ขอเชิญไปนั่งทานเหล้าอีสาน คุยกับศาสตราจารย์ชั้นยอดของญวนได้ โทรศัพท์นัดไปก่อนที่ (02) 318–6480–1 คุยฟรี ดื่มฟรีไม่เสียสตางค์นะครับ

เมื่อวาน นิติภูมิพูดถึงการตายและหายตัวอย่างลึกลับของอีเกอร์ อาคีมอฟ, อีเกอร์ มาเกเยฟ และเซรเกย์ ตาลาซอฟ ทั้งหมดมีการศึกษาดี มีตำแหน่งสูง และพูดภาษาไทยได้ยอดเยี่ยม ผมจบตบท้ายคอลัมน์ของเมื่อวานว่า เมื่อไรไทยจะ 1. มีผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจ 2. เลิกส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบโง่ๆ โดยให้วีซ่าออนอะไรวัล และ 3. มี ตม.ที่รู้เรื่องของโลกอย่างแท้จริง เสียที

เรื่องผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจเนี่ย ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีทุกประเทศนะครับ เลือกส่งเฉพาะประเทศที่คนของเขาเข้ามาเมืองเราแล้วมีปัญหา เช่น บังกลาเทศ จีน อินเดีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา รัสเซีย และแอฟริกาใต้ และก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องไปแย่งงานของกองการตำรวจสากลทำ ที่ต้องใช้ตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายการตำรวจ ก็เพราะต้องการอำนาจที่จะไปติดต่อขอข้อมูลจากประเทศต่างๆ

เรื่องตำแหน่งในคณะทูตานุทูตนี่ก็เคยมีผู้อ่านท่านสอบถามมาเหมือนกัน ขอถือโอกาสนี้เล่ารับใช้ไปซะเลยว่า ผู้แทนทางการทูตลำดับแรก ที่เป็นหัวหน้าของสถานเอกอัครราชทูตนั้น ท่านเรียกกันสั้นๆว่า แอมแบสซะดอร์ ทูตผู้หญิงบางทีก็มีคนเรียกว่า แอมแบสซะดริส หรือ เอกอัครราชทูต ก็มี

สมัยก่อนท่านทูตคนไหนได้ไปประจำประเทศ ก็จะเขียนตำแหน่งต่อท้ายว่า “สามัญ” หรือ ออร์ดินะรี ordinary ส่วนคนไหนถูกส่งไปเพียงปฏิบัติหน้าที่พิเศษ ก็จะเขียนอักษรตัวเล็กหน่อยห้อยท้ายว่า “วิสามัญ” หรือ อิคซ์ทรอดินะรี extraordinary แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีความแตกต่างระหว่างเอกอัครราชทูตแล้ว คนไหนๆชั่วคราวหรือประจำ ท่านก็ใส่ข้างท้ายชื่อว่า อิคซ์ทรอดินะรี ทั้งนั้น

ผู้อ่านหลายท่านเคยปรารภว่า เอกอัครราชทูตไทยที่ชอบขายอาคารสถานทูตเดิม และไปสร้างสถานทูตใหม่ ท่านว่าใครทำอย่างนี้มีคอมมิชชันดีกันทุกคน อยากถามนิติภูมิว่า เหล่าทูตท่านมีอำนาจในการขายทรัพย์สมบัติของชาติกันไหม?

อ๊าย! ท่านมาถามอะไรกับไอ้ขี้ทูต ความรู้กิ๊กก๊อกของผมซึ่งเรียนการทูตระดับปริญญาตรีที่รามคำแหง รู้แต่เพียงว่าถ้าเอกอัครราชทูตคนไหนมีคำพ่วงท้ายว่า เพลนนิพะเทนเชียริ หรือ plenipotentiary ที่แปลว่า ผู้มีอำนาจเต็ม ท่านก็มีอำนาจเต็มที่ในการเจรจาทางการทูต  ตามปกติ  ใดๆได้ทั้งนั้น

แต่ถ้าจะให้มีการเจรจา + ลงนามในสนธิสัญญาได้ ท่านทูตจำเป็นจะต้องมีอำนาจเต็มเป็นพิเศษ แฮ่ๆ นิติภูมิเป็นแค่ขี้ทูต ไม่ใช่ศาล ผมว่ามีสิทธิ์หรือไม่มีให้ศาลท่านชี้ขาดดีกว่าไหมครับ อย่ามาถามนิติภูมิเลย

เคยมีเฮียชวนไปนั่งหาอะไรทานกับท่านรัฐมนตรีของบางประเทศ ไปถึงผมก็เรียนว่า อาเฮียครับ คนนี้ท่านไม่ได้เป็นรัฐมนตรีนะ คำว่า minister  มินนิสเทอะ น่ะ แปลได้ตั้งหลายอย่าง รัฐมนตรีก็ได้ อัครราชทูตก็ดี หรือจะเป็นพระบางนิกายในศาสนาคริสต์ก็ใช้กัน มินนิสเทอะตามนามบัตรนี้ แปลว่า อัครราชทูต ต่างหาก

สถานทูตเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ผู้อ่านท่านที่สนใจในกิจการต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องทราบตำแหน่งในคณะทูตานุทูตเพื่อเอาไปไว้ใช้ในการติดต่อ

คณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในเมืองหลวงของประเทศต่างๆ จะประกอบด้วย หัวหน้าคณะ ที่เรียกว่า เอกอัครราชทูตและเจ้าหน้าที่ทางการทูต

เบอร์หนึ่งของสถานทูต ก็คือ เอกอัครราชทูต จากนั้นก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูต ซึ่งมี Minister มินนิสเทอะ ที่หมายถึง อัครราชทูต รองลงไปก็คือ Minister Counselor มินนิสเทอะ เคาเซิลเลอะ ก็คือ อัครราชทูตที่ปรึกษา แล้วก็มาถึงตำแหน่ง Counselor เคาเซิลเลอะ หรือที่ปรึกษา ซึ่งจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้

จากนั้นก็ไปพวกเลขานุการ แต่ละสถานทูตจะมีเลขานุการเอก โท และตรี พวกนี้ที่กล่าวมาทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ

ยังไม่ทันหมดคณะ ก็หมดหน้ากระดาษซะก่อนแล้วครับ

วันหน้ามาว่ากันต่อ ทำไมจึงถึงต้องมีผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจ ?

RevolverMap