Leh in my memory...

As we are entering the new era, where nations are becoming one community, I, as well as my PTI 27th session’s member friends have the mutual vision that we, and other friends of the Asia-Pacific nations, will become closer than ever.
ยินดีต้อนรับสู่โลกใบเล็กของผม โลกของคนทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ชีวิตในวัยเด็กผมเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิก แต่เมื่อยามต้องเลือกทางเดินของชีวิต ผมกลับเลือกที่จะสวมเครื่องแบบสีกากี โดยสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจ หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผมเลือกลงบรรจุรับราชการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชีวิตราชการวนเวียนโยกย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจรัฐ และการทำงานในหลายโอกาสอาจพบพานกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ บ้าง แต่ที่นี่คือ “บ้าน” ผมจึงยังทำงานอยู่ที่นี่ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่เสมอ...

Thursday, March 27, 2014

รับฟังบรรยายจากครูภูมิปัญญาท้องถิ่น


เปิดข้อตกลง 'ดับไฟใต้' ฟิลิปปินส์

ที่มา: VOICETV

101162

เอ็มไอแอลเอฟลงนามสันติภาพกับรัฐบาลมะนิลาในวันพฤหัสบดี ยุติการต่อสู้เพื่อเอกราชด้วยกำลังอาวุธ ยอมรับข้อตกลงปกครองตนเอง พร้อมกับมีสิทธิ์มีส่วนในทรัพยากรท้องถิ่น

รัฐบาลของประธานาธิบดีเบนิกโน อาคีโน กับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (เอ็มไอแอลเอฟ) ลงนามข้อตกลงสันติภาพกันในวันพฤหัสบดี ปิดฉากการต่อสู้ด้วยอาวุธในภาคใต้ของฟิลิปปินส์

เอ็มไอแอลเอฟมีนักรบประมาณ 10,000 คน นับเป็นกบฏมุสลิมกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ กลุ่มติดอาวุธนี้ต่อสู้เพื่อเอกราชของชนกลุ่มน้อยมุสลิมมานาน 4 ทศวรรษ

กลุ่มนี้แยกตัวมาจากแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (เอ็มเอ็นแอลเอฟ) เพราะความขัดแย้งภายใน เอ็มเอ็นแอลเอฟได้ตกลงยอมรับการปกครองตนเองไปแล้วก่อนหน้านี้

ข้อตกลงสันติภาพฉบับนี้ มีชื่อว่า "ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ว่าด้วยชนชาติบังซาโมโร" (Comprehensive Agreement on the Bangsamoro)

บังซาโมโรเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ตั้งแต่ยุคที่พวกสเปนเข้าพิชิตและยึดครองหมู่เกาะแถบนั้นเป็นอาณานิคม บังซาแปลว่าประชาชาติ โมโรมีรากมาจากคำว่า "พวกมัวร์" ซึ่งเจ้าอาณานิคมสเปนใช้เรียกชาวมุสลิม

4d9449f2a46921feb4d9987cc78a4167@  นักรบเอ็มไอแอลเอฟหลายพันคน รวมตัวแสดงการสนับสนุนการทำข้อตกลงสันติภาพ ที่ค่ายของกบฏมุสลิมกลุ่มนี้ บนเกาะมินดาเนาทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ เมื่อ 27 มีนาคม 2557

ข้อตกลงดังกล่าว มีสาระสำคัญ คือ

ปกครองตนเอง: เอ็มไอแอลเอฟเลิกแยกดินแดนหมู่เกาะมินดาเนา ในปี 2559 จะมีการจัดตั้งเขตปกครองตนเองบังซาโมโร มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา เขตปกครองนี้จะตั้งขึ้นแทนเขตเดิมที่เคยตกลงกับกลุ่มเอ็มเอ็นแอลเอฟ (MNLF-Moro National Liberation Front) เมื่อทศวรรษ 1990 แต่ไม่สามารถเป็นจริงได้

ปลดอาวุธ: เอ็มไอแอลเอฟ (MILF-Moro Islamic Liberation Front) จะทยอยยุบเลิกพลพรรคนักรบ และปลดอาวุธ และจะมีการจัดตั้งตำรวจท้องถิ่นขึ้นรับหน้าที่แทนตำรวจและทหารของฟิลิปปินส์

อำนาจรัฐบาลกลาง: รัฐบาลฟิลิปปินส์จะยังคงมีอำนาจบริหารในด้านกลาโหม นโยบายต่างประเทศ สกุลเงิน และงานทะเบียนต่างๆ

ภาษี/รายได้: รัฐบาลปกครองตนเองจะได้รับส่วนแบ่ง 75% ของภาษีท้องถิ่น ค่าธรรมเนียม และเงินจัดเก็บทุกประเภท และสัดส่วน 75% จากค่าภาคหลวงแร่โลหะกับภาษีด้านการประมงในรัศมี 12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง

กฎหมายอิสลาม: มินดาเนาจะไม่เป็นรัฐอิสลาม หากแต่ปกครองแบบโลกวิสัย ศาสนบัญญัติอิสลามหรือชารีอะฮ์จะใช้กับชาวมุสลิมเท่านั้น และใช้กับคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา ผู้อยู่อาศัยทุกคนมีหลักประกันสิทธิพื้นฐานในชีวิต การสัญจร ความเป็นส่วนตัว และมีเสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา

เขตแดน: เขตปกครองตนเองครอบคลุม 5 จังหวัด กับอีกสองเมือง หกอำเภอ และ 39 หมู่บ้าน กินพื้นที่ราว 10% ของพื้นที่บกทั้งหมดของฟิลิปปินส์

ธรรมนูญ: อาคีโนจะเสนอให้รัฐสภาผ่าน "ธรรมนูญการปกครองบังซาโมโร" สำหรับเขตปกครองตนเองดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้

ประชามติ: ประชาชนในพื้นที่เขตปกครองตนเองจะต้องออกเสียงลงประชามติรับรองธรรมนูญฉบับนี้ในปี 2558

ถ่ายโอนอำนาจ: หลังจากธรรมนูญผ่านรัฐสภาและผ่านประชามติของคนในพื้นที่ หน่วยปกครองที่เรียกว่า "องค์การถ่ายโอนอำนาจบังซาโมโร"  จะบริหารพื้นที่ไปจนกว่าจะมีสภาท้องถิ่นจากการเลือกตั้ง องค์การนี้มีสมาชิก 15 คน แต่งตั้งโดยอาคีโน แต่เอ็มไอแอลเอฟจะนั่งเก้าอี้ประธานและครองเสียงข้างมาก

การเลือกตั้ง: สภาท้องถิ่น ซึ่งคาดว่าจะมี 50 ที่นั่ง จะได้รับการเลือกตั้งพร้อมกันกับการเลือกตั้งระดับชาติในเดือนพฤษภาคม 2559.

Source : AFP

Wednesday, March 12, 2014

กายพร้อม ใจพร้อม


RevolverMap